ดนตรี: กลไกในการสร้างและรักษาภาวะลื่นไหลสำหรับการแสดงในละครเพลงอย่างสัมฤทธิ์ผล

ผู้แต่ง

  • วรรณ์ขวัญ พลจันทร์ หลักสูตรสื่อและการสื่อสาร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การแสดง, ทฤษฎีภาวะลื่นไหล, ดนตรี, การแสดงละครเพลง

บทคัดย่อ

          ทฤษฎีภาวะลื่นไหล (Theory of Flow State) ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้งในหลากสาขาวิชา  ทั้งด้านการกีฬา ธุรกิจ ดนตรี และการแสดง ในสาขาการแสดง งานวิจัยหลายชิ้นเผยให้เห็นว่า ทฤษฎีการแสดงสมัยใหม่ของ คอนสแตนติน สตานิสลาฟสกี (Konstantin Stanislavsky) มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดภาวะลื่นไหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเรื่องจิตใต้สำนึกของนักแสดงในการเข้าสู่และการคงความเป็นตัวละครในการแสดง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการทางการแสดงของสตานิสลาฟสกี ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและการแยกตัวออกจากทฤษฎีภาวะลื่นไหลด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะด้านจิตสำนึกที่ถูกแบ่งแยกขณะแสดงในหลากช่วงของการแสดงของนักแสดง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้โต้แย้งว่าเมื่อจิตสำนึกของนักแสดงถูกแบ่งแยกในขณะแสดงละครเพลง ดนตรีนี่เองที่สามารถนำนักแสดงกลับมา “อยู่ในโซน” (in the zone) หรือ กลับมา “เป็นตัวละคร” และผสานจิตสำนึกให้กลับเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง งานวิจัยนี้เขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากการแสดงของผู้เขียนในบทมาเจนทา (Magenta) จากละครเพลงเรื่อง “The Rocky Horror Show” ของริชาร์ด โอ'ไบรอัน (Richard O’Brien) ซึ่งจัดแสดงที่กรุงเทพฯ การวิจัยนี้ ไม่เพียงศึกษาทฤษฎีการแสดง แต่ยังรวมเรื่องของดนตรีและเสียงดนตรีที่ขับเคลื่อนการกระทำและจิตวิทยาภายในของตัวละครในละครเพลง ในฐานะกลไกที่สร้างและรักษาภาวะลื่นไหลสำหรับนักแสดงจนเป็นผลสำเร็จ การจัดสร้างการแสดงละครและการเรียบเรียงเสียงประสานของดนตรีได้ถูกนำมาใช้ศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกับรูปแบบการใช้พื้นที่บนเวที ทิศทางการเคลื่อนไหวของนักแสดงบนเวที และการตีความบทเพลงในละครอีกด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

References

Britton, John. (2010). The Pursuit of Pleasure. Theatre, Dance, and Performance Training. 1(1): 36-54.

Csikszentmihalyi, Mihaly. (1997). Finding Flow: The Psychology of Engagement with Everyday Life. New York: Basic Books.

Csikszentmihalyi, Mihaly. (2008). Flow: The Psychology of Optimal Experience. New York: Harper Perennial Modern Classics.

Csikszentmihalyi, Mihaly. (2013). Creativity: The Psychology of Discovery and Invention. New York: Harper Perennial Modern Classics.

Jeffrey J., Martin &Keir, Cutler. (2010). An Exploratory Study of Flow and Motivation in Theater Actors. Journal of Applied Sport Psychology. 14(4): 344-352.

Kang, Sangmi. (2023). An Exploratory Study of Music Teachers’ Flow Experiences Between Performing and Teaching Music. Journal of Research in Music Education. 70(4): 407-424.

Merlin, Bella. (2003). Konstantin Stanislavsky. London: Routledge.

Silberschatz, Marc. (2013). Creative State/ Flow State: Flow Theory in Stanislavsky’s Practice. New Theatre Quarterly. 29(1): 13-23.

Stanislavsky, Konstantin. (2010). An Actor’s Work: A Student’s Diary, translated by Jean Benedetti. London: Routledge.

Toporkov, Vasili. (2004). Stanislavsky in Rehearsal, translated by Jean Benedetti. New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28