นวัตกรรมการออกแบบแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากอัตลักษณ์ผ้าไหม จากแนวทางผ้าแจ็คการ์ค ด้วยกลยุทธ์แฟชั่นแพ็คสู่ตลาดสากล

ผู้แต่ง

  • พัดชา อุทิศวรรณกุล สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
  • แพรวา รุจิณรงค์ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แขมร์สะเร็น, เส้นใยไหม, FASHION PACT, สิ่งทอ, โครงสร้างสิ่งทอแบบ, Jacquard Loom, ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไดล์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันสินค้ารังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายผ้าไหม สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศด้วยการส่งออกสินค้าดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันยอดขายในประเทศกลับสูงกว่า ทำให้เห็นช่องว่างทางการตลาดของสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไฮเอนด์ของตะวันตก โดยในยุโรปเริ่มมีการนำนโยบาย fashion pact มาใช้ในการควบคุมคุณภาพสินค้า จากข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยจึงทำการศึกษานวัตกรรมการออกแบบแฟชั่นไลฟ์สไตล์อัตลักษณ์ผ้าไหม จากแนวทางผ้าแจ็คการ์คด้วยกลยุทธ์แฟชั่นแพ็คสู่ตลาดสากล โดยมีวัตถุประสงค์ 1)แนวคิดทุนทางวัฒนธรรมการทอผ้าไหมของแขมร์สะเร็น 2)แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างสิ่งทอ ผ้าแจ็คการ์ค ในรูปแบบสากล 3) แนวคิดทฤษฏี รื้อสร้าง (Deconstruction) การออกแบบสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ 4) แนวคิด THE FASHION PACT ขอบเขตพื้นที่ศึกษาคือ กลุ่มผู้ทอผ้า แขมร์สะเร็น ในจังหวัดสุรินทร์ ใช้วิธีการวิจัยในการเก็บข้อมูล 1) การสังเกตแบบรู้ตัว (know observation) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งทอไหมพื้นบ้าน ช่างทอผ้า เจ้าของทุนทางวัฒนธรรมผ้าทอแขมร์สะเร็น จำนวน 5 ท่าน 2) การสัมภาษณ์ (interview) ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ จำนวน 5 ท่าน โดยการสร้างเครื่องมือสัมภาษณ์ และการหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสัมภาษณ์ (IOC) เมื่อสรุปข้อมูลจากวิธีวิจัยทั้งสองจึงนำมาเปรียบเทียบกับแนวโน้มกระแสนิยม (TREND) ปี 2025 นำมาสร้างสรรค์แบบร่างลวดลายผ้าเพื่อหาแนวทางต้นแบบโครงสร้างผ้าอัตลักษณ์ การทอผ้าเจ็กการ์ดแบบตะวันตก โดยใช้เทคนิคทุนทางวัฒนธรรมการทอผ้าไหมไทย แขมร์สะเร็น อีสานใต้จากนวัตกรรมการออกแบบแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากอัตลักษณ์ผ้าไหมแจ็คการ์ค ด้วยกลยุทธ์แฟชั่นแพ็ค (Fashion pact) สู่ตลาดแฟชั่นตะวันตก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมหม่อนไหม. (2555). ภูมิปัญญาผ้าไหมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์.

กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2558). พันธุ์ไหมอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.

กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษร่และสหกรณ์ใ (2565). ข้อมูลสถิติด้านหม่อนไหมย้อนหลัง 10 ปี. Retrieved from https://qsds.go.th/qsisplan

กิตติกรณ์ นพอุดรพันธุ์. (2554). ประวัติเครื่องแต่งกายไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทรงพันธ์ วรรณมาศ. (2523). ผ้าไทยลายอีสาน. กรุงเทพฯ: กรมฝึกหัดครู.

แผนที่จังหวัดสุรินทร์. (2558). การท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์. Retrieved from http://www. hotsia.com/thailandmap/surin1.shtml

พัทธนันท์ โอษฐ์เจษฎา และ วลัยพร วังคฮาด. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นห้องภาพเมืองสุรินทร์. สุรินทร์: สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2531). ผ้าไทย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ศิริพร มุเมธารัตน์. (2554). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสร์.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศองค์การมหาชน. (2558). สมปักปูมภูมิปัญญาผ้าเขมรไทยจากราชสำนักสู่สามัญชน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์จำกัด.

สำนักงานจังหวัดสุรินทร์. (2526). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์. (2558). Retrieved from http://www.dla.go.th/servlet/TemplateServlet?province=srn

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์กรมหาชน). (2564). MADE From Thai Creativity. นนทบุรี: ภาพพิมพ์ จำกัด

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565).แปลงใหญ่หม่อนไหมรุ่งเรือง เมืองเพชรบูรณ์ หนึ่งความสำเร็จยกระดับแปลงใหญ่ ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด สร้างรายได้กลุ่ม 9.18 ล้านบาท/ปี . Retrieved from https://www.oae.go.th/view

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). คำพิพากษาจากอำนาจทางวัฒนธรรมไทย. Retrieved from https://www.matichon.co.th/news/181972

อเนก นาวิกมูล. (2525). การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

Akiko Fukai,Tamami Suoh, Miki Iwagami, Reiko Koga and Rie Nii . (2006). Fashion – A History from the 18th to the 20th-century volume ii: 20th century. Koln: Taschen

Alex and Sebastiaan. (2017). Patan Patola, the cloth of kings. Retrieved from https://www.lostwithpurpose.com/patan-patola/

Gillian Green. (2003). Traditional Textile of Cambodia Culture Threads and Material HeritageThailand: River Book Co., Ltd.

Jan Shenton. (2014). Woven textile design. London: Laurence King Publishing Ltd.

Patrick Baty. (2017). The anatomy of color, The story of heritage paints and pigments. United Kingdom: Thames & Hudson Ltd.

San Francisco. (1984). Designer’s guide to color. Canada: Raincoast Books.

Susan Conway. (2001). Thai textiles. Bangkok: River Books Press The Fashion Pact. (2020). The Fashion Pact-Frist Step to Transform Our Industry. 22 October 2564, Retrieved from https://thefashionpact.org/wp-content/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30