เพลงเปล และเพลงตนโย้ง การขับร้องพื้นบ้านกับสังคมพหุศาสนาและการกลายเป็นเมืองของตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • จารุวัฒน์ นวลใย สาขาวิชานานาชาติศึกษา คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

คำสำคัญ:

เพลงเปล, เพลงตนโย้ง, ป่าตอง, พหุศาสนา, การกลายเป็นเมือง

บทคัดย่อ

เพลงพื้นบ้านเป็นนันทนาการ เป็นร่องรอยประวัติศาสตร์ และเป็นการบอกเล่าสภาพสังคม บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสังคีตลักษณ์ของเพลงพื้นบ้าน กรณีเพลงเปลและเพลงตนโย้ง ของตำบลป่าตอง และการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของเพลงพื้นบ้าน โดยพบว่าเพลงพื้นบ้านมีรูปแบบทางสังคีตลักษณ์ที่เรียบง่ายและมีความยืดหยุ่น และเป็นการบันทึกเรื่องราวของสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ เพลงเปลใช้เป็นเพลงร้องเล่นในระหว่างการทำงานภาคเกษตรกรรม และการใช้เพลงในการกล่อมเด็ก ส่วนเพลงตนโย้งมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ คำร้องใช้การผสมระหว่างภาษาไทยพื้นถิ่นและภาษามลายู การดำรงอยู่ของเพลงพื้นบ้านมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เป็นเงื่อนไขกล่าวคือ ข้อจำกัดของศาสนากับการร้องเพลงพื้นบ้านของผู้ที่อยู่ในวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการกลายเป็นเมืองของภูเก็ต

References

จารุณี คงกุล. (2563, มกราคม-มิถุนายน). วัฒนธรรมข้ามชาติในจังหวัดภูเก็ต. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 21(39), 110-121.

จิราภา วรเสียงสุข. (2556). ทฤษฎีสังคมวิทยายุคคลาสสิก (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เอ็ม แอนด์ เอ็ม เลเซอร์พริ้นต์.

ธนโชติ ประหยัดทรัพย์, และ อับดุลรอนิง สือแต. (2565, มกราคม-มิถุนายน). ประวัติศาสตร์และภูมิหลังของชุมชนมุสลิมเกาะยาวน้อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 17(1), 15-28.

บุษกร บิณฑสันต์. (2554). ดนตรีภาคใต้: ศิลปิน การถ่ายทอดความรู้ พิธีกรรมและความเชื่อ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริญญา ประหยัดทรัพย์. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). การดูแลมุสลิมในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามันหลังเข้ารับอิสลาม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 15(2), 86-98.

ปริญญา ประหยัดทรัพย์. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การปรับตัวของมุสลิมใหม่ในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามันหลังเข้ารับอิสลาม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 16(1), 168-183.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2548). อ่าน 'วัฒนธรรมชุมชน' (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.

เรวดี อึ้งโพธิ์. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การถ่ายโอนความรู้วัฒนธรรมดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในจังหวัดสตูล. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 20(37), 3-12.

ลำพอง กลมกูล. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). พหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยู่ร่วมกันของจีนและมลายู: กรณีศึกษาประเทศบรูไน. วารสารโพธิวิจัย, 2(2), 76-90.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2553). ความเป็นมนุษย์กับการพัฒนาการสังคม-วัฒนธรรม. ใน ประเวศ วะสี, ธรรมชาติของสรรพสิ่งการเข้าถึงความจริงทั้งหมด (พิมพ์ครั้งที่ 2, น.375-440). นนทบุรี: สำนักพิมพ์กรีน-ปัญญาญาณ.

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์, ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต, และ มุกรวี ฉิมพะเนาว์. (2565, พฤษภาคม-สิงหาคม). วัฒนธรรมชุมชนกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 2(2), 127-139.

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์. (2532). วรรณกรรมท้องถิ่นภูเก็ต. ภูเก็ต: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต.

สุนิสา ฉันท์รัตนโยธิน. (2546). ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชน: บ้านม้งดอยปุย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุรวุฒิ ปัดไธสง. (2545, กันยายน). วัฒนธรรมชุมชน: เงื่อนไงความเข้มแข็งชุมชน/หมู่บ้าน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 8(1), 11-20.

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม : กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2553). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

อิสระพงษ์ พลธานี, และ อุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2563, มกราคม-มิถุนายน). ภาพลักษณ์ของวัฒนธรรมภูเก็ตที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(1), 274-300.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30