การสร้างสรรค์งานสาธารณศิลป์ด้วยการบูรณาการศาสตร์ ศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ ในการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อชุมชน

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี บุญเสริม สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สุรสีห์ ชานกสกุล ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร ศิลปินนักนิเวศสุนทรีย์

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, สาธารณศิลป์, บูรณาการศาสตร์, งานศิลปะเพื่อชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสาธารณศิลป์ด้วยการบูรณาการศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ในการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อชุมชน โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยสร้างสรรค์ (Creative Research) และการวิจัยและพัฒนา (Research and Development, R&D)  และใช้แนวคิดสาธารณศิลป์ (Art for public) และแนวคิดการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (Collaborative Creativity) ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของศิลปินแต่ละแขนง การทำงานร่วมกับชุมชน  และการตอบโจทย์สังคมในสถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19  ภายใต้การออกแบบสร้างสรรค์ผลงานชุด “กัลปพฤกษ์: Wishing Tree” ที่ประยุกต์ตำนานต้นกัลปพฤกษ์ตามวิถีความเชื่อในสังคมไทยมาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์งาน ผลการวิจัยพบว่า  การสร้างสรรค์ผลงานด้วยแนวคิดสาธารณศิลป์ เป็นแนวทางในการทำงานศิลปะเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนอันเป็นพื้นที่ให้กลุ่มศิลปินในหลากหลายแขนงได้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตผลงานทางศิลปกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ในองค์รวม รวมถึงเป็นการนำเสนอแนวทางใหม่ ๆ ให้แก่ชุมชน การบูรณาการศาสตร์ในหลากหลายแขนงนี้ทำให้เกิดผลงานศิลปะที่มีความสมบูรณ์ในทุกองค์ประกอบสามารถสื่อสารและเข้าถึงผู้ชมได้ง่าย นอกจากนี้การทำงานร่วมกับชุมชนโดยให้นักเรียนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม เป็นการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนความตระหนักรู้และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานศิลปะเพื่อชุมชนได้เป็นอย่างดี

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอนก นาวิกมูล. (2564, 22 ตุลาคม). รัชกาลที่ 5 ทรงโปรยทาน ด้วยสิ่งที่น่าสนใจที่ไม่ใช่เงิน. ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_21088

นันธิดา จันทรางศุ และคณะ. (2566). ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสาธารณศิลป์: การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19. กรุงเทพฯ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).

วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร. (2564, มกราคม -มิถุนายน). สาธารณศิลป์เพื่อนิเวศสุนทรีย์. ศิลปกรรมสาร, 14(1), น. 107-131.

Association for Public Art. (2020). “What is public art?.” Retrieved from https://www.associationforpublicart.org/ what-is-public-art/.

Bishop, L. (2018). Collaborative musical creativity: How ensembles coordinate spontaneity. Frontiers in Psychology, 9. Retrieved from https://doi.org/10.3389/fpsyg.2018.01285

Engeström, Y. (2001). Expansive learning at work: Toward an activity theoretical reconceptualization. Journal of Education and Work, 14(1), 133-156. Retrieved from https://doi.org/10.1080/13639080020028747

Fischer, G., Giaccardi, E., Eden, H., Sugimoto, M., & Ye, Y. (2005). Beyond binary choices: Integrating individual and social creativity. International Journal of Human-Computer Studies, 63(4):482-512. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.ijhcs.2005.04.014

Grant, N. (2010). Music and collaboration: Rapport, leadership, and the role of the individual in collaborative processes. [Master’s thesis, University of Melbourne]. Retrieved from https://doi.org/10.13140/2.1.5031.6480

Hall, Tim, and Chris Smith. (2005) “Public art in the city: meanings, values, attitudes and roles.” In Interventions: Advances in Art and Urban Futures Volume 4, edited by Malcolm Miles and Tim Hall, 175–179. Bristol: Intellect Books, 2005.

Hargreaves, D. J., Hargreaves, J. J., & North, A. C. (2012). Imagination and creativity in music listening. Musical imaginations, 156-172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30