การออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling จากผักตบชวา ด้วยกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • อังกาบ บุญสูง สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา, การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม, กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวการแปรรูป Upcycling จากผักตบชวาที่เหมาะสมในการนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผักตบชวาด้วยกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ และสร้างต้นแบบผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่ชุมชน ใช้การวิจัยแบบประยุกต์ (Applied Research) ด้วยกระบวนการทางคุณภาพควบคู่กับข้อมูลทางสถิติ ใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง และแบบประเมินผลการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญ

ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการ Upcycling โดยการพัฒนานวัตกรรมวัสดุจากผักตบชวาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ พัฒนาได้ตามการคัดแยกและเทคนิคการผลิต ผ่านกระบวนการคัดแยก อบ ปั่น ร่อน บดอัด ฉีดเส้นใย สร้างสรรค์ออกเป็น 4 กลุ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาคผักตบชวาที่นำมาแปรรูป และความต้องการเพื่อให้เกิดการใช้งานเป็นวงกว้าง ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่วัสดุกันกระแทก รองกรงสัตว์เล็ก กระถาง จนถึงเป็นวัสดุทดแทนเม็ดพลาสติก Polylactic Acid (PLA) สำหรับใช้ในงานพิมพ์ 3 มิติ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องประดับที่เน้นความสวยงาม มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ และกระเป๋าถือ โดยค่าความต้องการเฉลี่ย 4.79 และ 4.59 ซึ่งอยู่ในระดับเกณฑ์ความต้องการมากที่สุด ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เศษผักตบชวาด้วยกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ในการเตรียมทดสอบทางการตลาด ด้านประโยชน์ใช้สอยทางกายภาพและความสวยงาม พบว่า อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (  = 4.59 ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.53)  โดยต้นแบบที่ได้ถูกนำไปถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างผลิตภัณฑ์ และเป็นแนวทางการสร้างต่อชุมชุมและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

จิรวัฒน์ พิระสันต์. (2566). สามประสบ สามชาติพันธุ์ สังขละบุรี. โครงการส่งเสริมและจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวตะเข็บชายแดน และระเบียงเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิรัช สุดสังข์. (2557). ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ฝนทิพย์ วรรธนะศิรินทร์ รังสิตสวัสดิ์. (2564). การพัฒนาเศษวัสดุเซรามิกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling ด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขานุการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานประจำปี 2561 กรมควบคุมมลพิษ. กรุงเทพฯ: ฮีซ์.

สิงห์ อินทรชูโต. (2018). Upcycling: Value Creation with Design for Hospital. Journal of Asia Design & Research 1.

สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2564). การถ่ายทอดองค์ความร้และภูมิปัญญาตามศักยภาพของผู้สูงวัย. ใน หนังสือประมวลบทความการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 16 เรื่อง การวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อังกาบ บุญสูง. (2560). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ ตําบลนานกกก อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เทพสตรี I-TECH ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม -ธันวาคม 2560.

Braungart, M., & McDonough, W. (2002). Cradle to cradle: Remaking the way we make things (2nd ed.). United Kingdom: Vintage books.

J. Noyraiphoom and S. Intrachooto. (2017). Innovation Development Pattern of Upcycled Materials in Thailand. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS). 14(1), 47-60.

OKMD สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2021, August 17). Upcycle เทรนด์ใหม่ของคนสายกรีน. OKMD. Retrieved November 23, 2021, from https://www.okmd .or.th/okmd-kratooktomkit/4396/

Thornton, K. (1994, October 11). Reiner pilz, salvo in Germany. UK: SalvoNEWS

THE STANDARD TEAM. (2562, October 7). ของเสียแต่ไม่เสียของด้วย ‘Upcycle’ กระบวนการอัพมูลค่าขยะไร้ค่าให้กลายเป็นของแต่งบ้านดีไซน์เก๋. The Standard. Retrieved November 28, 2564, from https://thestandard.co/ichitan-green-factory-zero-waste/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29