อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ท่ารำโทนเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, การสร้างสรรค์, รำโทนเพชรบูรณ์, รำตีบทบทคัดย่อ
บทความวิจัยอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ท่ารำโทนเพชรบูรณ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสรรค์ท่ารำโทนเพชรบูรณ์ขึ้นใหม่โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพในการสร้างสรรค์ และได้แรงบันดาลใจมาจากบทเพลงรำโทนเพชรบูรณ์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์กมล บุญเขต อดีตผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์โดยหวังจะเผยแพร่ชื่อเสียงให้กับจังหวัดเพชรบูรณ์ในมุมกว้าง ให้ประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์และผู้สนใจทั่วไปรู้จักเพชรบูรณ์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ประเพณี วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว อาหาร
ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ท่ารำโทนเพชรบูรณ์เป็น 1 ในบทประพันธ์จาก 11 บทเพลงเพลงรำโทนเพชรบูรณ์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์กมล บุญเขต อดีตผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คือเพลงรำโทนเพชรบูรณ์ ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดและแรงบันดาลใจดังกล่าวมาสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดงรำโทนเพชรบูรณ์ โดยใช้ท่ารำพื้นฐานนาฏศิลป์ไทย การใช้ลักษณะท่ารำ ภาษาท่า นาฏยศัพท์ การเลียนแบบลักษณะท่าทางของสัตว์ ผสมผสานการเคลื่อนไหวของร่างกายตามท่วงทำนองเพลง สื่ออารมณ์ด้วยกิริยาต่าง ๆ รำโทนเป็นการรำที่มีลักษณะเรียกว่า “รำตีบท” “รำวัฒนธรรม” “รำโจ๋ง” “รำวงแบบบท” การแต่งกายใช้รูปแบบชุดหนุ่มสาวนครบาลเพชรบูรณ์ การแสดงเป็นการรำเชิงเกี้ยวพาราสีกันระหว่าง ชาย-หญิง เป็นคู่ ๆ เคลื่อนย้ายเวียนไปเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา
Downloads
References
กาญจนารัศมิ์ แจ่มฟ้า. (2560). รำโทน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
นวลรวี จันทร์ลุน. (2546). พัฒนาการและนาฏยลักษณ์ของรำโทนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรจักร วงศ์เงิน. (2551). เพลงรำโทน:กรณีศึกษาคณะรำโทนบ้านไร่กร่าง ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด
จังหวัดเพชรบุรี. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2565). การสร้างสรรค์งานทางนาฏศิลป์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ