ปฏิบัติการดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือสู่ดนตรีล้านนา : ความคลี่คลายของศูนย์กลางนิยมของดนตรีในชาติไทย

ผู้แต่ง

  • ชยุติ ทัศนวงศ์วรา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ดนตรีล้านนา, ชาตินิยม, ศูนย์กลางนิยม

บทคัดย่อ

ชาติ และรัฐชาติเป็นผลพวงจากลัทธิอาณานิคมนิยมถึงแม้ภายหลังการครอบงำทั้งด้านการปกครอง การเมืองที่เป็นรูปธรรมจะเบาบางลงภายหลังการตระหนักรู้และเกิดแนวคิดหลังอาณานิคมนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะเวลานานพอควร แต่ดุลยภาพของโลกที่ฉาบเคลือบด้วยระบบสังคมเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ทุนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของความเป็นสังคมมนุษย์ ชาตินิยมเป็นประเด็นถกเถียงและซ่อนเร้นอยู่ในความคิด สืบทอดส่งต่อผ่านการสอดแทรกอยู่ในเรื่องต่าง ๆ ของไทยทั้งวรรณกรรม ศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ดุริยางคกรรม บทความนี้นำเสนอการก่อตัวของชาตินิยมในมิติดนตรี และการเผชิญหน้ากับกระแสชาตินิยม ตลอดจนการประกอบสร้างความเป็นท้องถิ่นนิยมเพื่อถ่วงดุลอำนาจกระทั่งสามารถปลดปล่อยการถูกกดทับจากกระแสศูนย์กลางนิยม เมื่อชาตินิยมของไทยผูกติดกับอำนาจของศูนย์กลาง “ฐานกรุงเทพ ฯ” จึงสำแดงอำนาจสู่มิติดนตรีในระดับภูมิภาค ดนตรีล้านนาใช้กระบวนการทางสังคมในการสละตัวเองออกจากเงื้อมเงาของฐานกรุงเทพ ฯ โดยอุปายโกศล ทั้งการเลือกรับ การปรับตัว และการสถาปนาล้านนานิยม ด้วยผลผลิตทางวิชาการดนตรี ดนตรีล้านนาจึงได้สร้างตัวตน สร้างอัตลักษณ์ และดำเนินการคลี่คลายตัวเองจากศูนย์กลางได้สำเร็จจากทุนทางสังคมล้านนา และผลิตสร้างคุณค่าในตัวเอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

เดวิด วัยอาจ. (2557). Thailand: a short history [ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป]. กรุงเทพ ฯ: มูลนิธิโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2562). ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์นอกขนบและวิธีวิทยาทางเลือก. กรุงเทพ ฯ : ฟ้าเดียวกัน.

ธวัช ปุณโณทก. (2552). ไทยเสียดินแดน. กรุงเทพ ฯ: แม็ค.

ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2560). มุขบาฐกับการขับซอล้านนา. วารสารศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2(1). 70-87.

พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์. (2562). ดนตรีจังหวัดน่าน. นนทบุรี: คัลเลอร์ไอเดีย อินโนเวชั่น.

ยศ สันตสมบัติ. (2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว. (2560). รำวง กับภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมของคนล้านนา. วารสารศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2(1). 40-56.

สงกรานต์ สมจันทร์. (2565). ดนตรีล้านนาในพิธีกรรม พิธีกรรมในดนตรีล้านนา. เชียงใหม่: บริษัท ส.อินโฟกราฟฟิค จำกัด.

สุนทร คำยอด. (2559). การสร้าง “ความเป็นล้านนา” ในวรรณกรรมของนักเขียนภาคเหนือ. วารสารธรรมศาสตร์. 35(3). 43-60.

ฮอลล์ ดี. จี. อี. (2549). A History of South-East Asia [ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สุวรรณภูมิอุษาคเนย์ภาคพิสดาร]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Austin, J. L. (1962). How to do things with words. New York, NY: Oxford University Press.

Eriksen, T. H. (2010). Ethnicity and Nationalism: Anthropological Perspectives (3rd ed.). London: Pluto Press.

Frug, J. (1993). Decentering Decentralization. The University of Chicago Law View. 60(2). 253-338.

Kanchanapradit, J. (2018). From “Fǭn ngīeo” to “Selemao”. Asian Ethnology. 77(1). 371-398.

Keyes, C. F. (1996). Ethnic Identity and Loyalty of Villagers in Northeastern Thailand. Asian Survey. 6(7). 362-369.

McGrew, A. (2007). The Pia’s Subtle Sustain: Contemporary Ethnic Identity and Revitalization of the Lanna “Heart Harp”. Asian Music. 38(2). 115-142.

Miller, T. E. (1992). The Theory and Practice of Thai Musical Notations. Ethnomusicology. 36(2).197-221.

Moro, P. (2004). Constructions of Nation and the Classicisation of Music: Comparative Perspectives from Southeast and South Asia. Journal of Southeast Asian Studies. 35(2). 187-211.

Numnonda, T. (1978). Pibulsongkram’s Thai Nation-Building Programme during the Japanese Military Presence, 1941-1945. Journal of Southeast Asian Studies. 9(2). 234-247.

Poole, R. (1999). Nation and Identity. London: Routledge.

Reynolds, E. B. (2004). Phibun Songkhram and Thai Nationalism in the Fascist Era. European Journal of East Asian Studies. 3(1). 99-134.

Schmidt, E. B. (1993). Targeting Organization: Centralization or Decentralization. Alabama: Air University Press.

Sidel, J. T. (2012). The Fate of Nationalism in the New states: Southeast Asia in Comparative Historical Perspective. Comparative Studies in Society and History, 54(1). 114-144.

Streckfuss, D. (2012). An ‘ethnic’ reading of ‘Thai’ history in the twilight of the century-old official ‘Thai’ national model. South East Asia Research. 20(3). 305-327.

Thananithichot, S. (2011). Understanding Thai Nationalism and Ethnic Identity. Journal of Asian and African studies. 46(3). 250-263.

Woodward, K. (2002). Identity and Difference. London: Sage.

Wyatt, D. K. (1996). Studies in Thai History. Chiang Mai: Silkworm Book.

Yerkes, S. & Muasher, M. (2018). Goals and Benefits of Decentralization [Report]. Carnegie Endowment for International Peace.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30