การออกแบบเครื่องประดับเชิงพาณิชย์จากแนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • ธนกฤต ใจสุดา คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภัทรา ศรีสุโข คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • วิมลิน สันตจิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การลอกเลียนแบบธรรมชาติ, เครื่องประดับเชิงพาณิชย์, การออกแบบเครื่องประดับ, รูปแบบธรรมชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.ศึกษาการพัฒนาเครื่องประดับเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ 2. ออกแบบเครื่องประดับเชิงพาณิชย์จากแนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ และ 3.ประเมินความพึงพอใจแบบร่างเครื่องประดับเชิงพาณิชย์จากแนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติสำหรับนำไปผลิตต้นแบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางการออกแบบเครื่องประดับเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับการออกแบบเป็นเครื่องประดับ ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง คือ 1. กลุ่มนิสิตนักศึกษาในสาขาการออกแบบเครื่องประดับใช้แบบสอบถาม เพื่อคัดเลือกแพลงก์ตอนที่เหมาะสมในการนำมาออกแบบเป็นเครื่องประดับ และ 2.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการผลิตเครื่องประดับ แบบประเมินแบบร่างเครื่องประดับ เพื่อประเมินแบบร่างเครื่องประดับสำหรับการผลิต

ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเครื่องประดับเกี่ยวข้องโดยตรงกับความงามและประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักการออกแบบเชิงพาณิชย์จะเน้นมูลค่าของวัสดุ การนำเสนอรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และการผลิตในปริมาณมาก ส่วนแนวทางการเลียนแบบธรรมชาติสู่การสร้างนวัตกรรมมี 2 แนวทาง คือ 1. แนวทางชีววิทยาสู่การออกแบบ และ 2. แนวทางการออกแบบสู่ชีววิทยา ซึ่งในการออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ใช้แนวทางที่หนึ่งในการออกแบบ ผู้วิจัยได้ใช้รูปทรงแพลงก์ตอนเป็นแรงบันดาลใจ ออกแบบสำหรับผู้บริโภคเพศผู้หญิง อายุระหว่าง 23-38 ปี (Gen Y) ผลการคัดเลือกรูปทรงแพลงก์ตอนที่เหมาะสำหรับนำมาออกแบบเครื่องประดับ พบว่า รูปทรงแพลงก์ตอนที่มีคะแนนสูงสุด 5 อันดับได้แก่ แพลงก์ตอนลำดับที่ 11, 14, 28, 35 และ 1 ส่วนผลการประเมินแบบร่างเครื่องประดับ พบว่า แบบร่างเครื่องประดับที่ 5 ที่ใช้รูปทรงของแพลงก์ตอนชื่อ Cyclotella sp. มาออกแบบ  เป็นแบบร่างที่มีคะแนนประเมินสูงสุด โดยมีคะแนนความเหมาะสมในระดับมาก (= 4.20, S.D. = 0.53) ซึ่งจะนำไปผลิตเป็นผลงานต้นแบบต่อไป

 

References

ชาคริต นิลศาสตร์. (2559). Biomimicry – ลอกเลียนเพื่อเปลี่ยนชีวิต. สืบค้นจาก https://www. tcdcmaterial.com/th/article/technology-innovation/24534.

ณัฐพันธ์ ศุภกา. (2553). Biomimicry นวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ. วารสาร Bio & Nano. 37(213), 32-36.

ธนิกา วศินยานุวัฒน์ และอรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์. (2565). นวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ: อีกทางเลือกของสะเต็มศึกษาในชีววิทยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 33(1), 2-11.

ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ. (2563). แก้วโป่งข่ามบ้านนาบ้านไร่ : ผลึกหินธรรมชาติสู่รูปแบบเครื่องประดับ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 22(1), 9-23

วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ. (2536). ศิลปะเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: โอเดี่ยนสโตร์.

วัฒนะ จูฑะวิภาค. (2545). การออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2526). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: โอเดี่ยนสโตร์.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2563). อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ. สืบค้นจาก https://www.pier.or.th/forums/2020/18/jewelry/

สมคิด นันต๊ะ และคณะ. (2564). การยกระดับสินค้าด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา. วารสารปัญญาปณิธาน. 6(2), 99-112.

สมชาย ดิษฐาภรณ์ และคณะ. (2565). การสาร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากแนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ กรณีศึกษาอุปกรณ์ปลูกผัก. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. 9(1), 111-136.

David Sanchez. (2010). Nervous system jewelry/Joyeria “Sistema Nervioso”. Retrieve from https://biomimeticdesign.wordpress.com/2010/03/22/nervous-system-jewellery-joyeria-sistema-nervioso/.

Estelle Cruz et al. (2021). Design processes and multi-regulation of biomimetic building skins: A comparative analysis. Energy and Buildings. 246 (1 September 2021). Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.enbuild.2021.111034.

Filiz Tavsan & Elif Sonmez. (2015). Biomimicry in Furniture Design. In 7th World Conference on Educational Sciences, (WCES-2015), 197. pp. 2285 - 2292. Greece: Procedia-Social and Behavioral Sciences.

Hema Zulaika Hashim et al. (2020). Inspiration of Biomimicry Approach through Creating Jewellery Design. Retrieve from https://www.researchgate.net/publication/338618883_Inspirational_of_Biomimicry_Approach_through_Creating_Jewellery_Design.

Kesorn Teanpisut & Sunan Patatarajinda. (2007). Species Diversity of Marine Planktonic Diatoms around Chang Island, Trat Province. Kasetsart J. (Nat. Sci.). 41(5), 114-124.

Parametric House. (2021). Porifera Jewelry. Retrieved from https://parametrichouse.com/ porifera-jewelry/.

Robert Kraus. (n.d.). Radiolarian Jewellery. Retrieved from https://radiolaria.org/kraus/Tzu-Yu Chen & Li-Hsun Peng. (2013). Nature-inspired Fashion Design through The Theory of Biomimicry. Retrieved from http://designcu.jp/iasdr2013/papers/1512-1b.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30