แม่ท่าฟ้อนล้านนา : ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน)

ผู้แต่ง

  • รัตนะ ตาแปง สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นุชนาฏ ดีเจริญ สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กิตติ์ธเนศ ศิริสุริยเสรี สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

แม่ท่าฟ้อน, ล้านนา, พ่อครู, แม่ครู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง แม่ท่าฟ้อนล้านนา :  ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน - ช่างฟ้อน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบการฟ้อนที่ปรากฏในผลงานการแสดงของศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมข้อมูลจากผลงานการแสดงของศิลปินในสื่อออนไลน์ ข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ศิลปิน ทายาทสายตรง และลูกศิษย์ รวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์กระบวนการท่ารำ จากการแสดงของศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน – ช่างฟ้อน) คือ พ่อครูคำ กาไวย์ พ่อครูมานพ ยาระณะ แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์

ผลการศึกษาพบว่า กระบวนท่าฟ้อนของศิลปินทั้ง 3 ท่าน ได้รับการถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ทางด้านการแสดงพื้นบ้านล้านนา และผลงานการแสดงที่ศิลปินเป็นผู้เรียบเรียงหรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เพื่อปรับใช้การแสดงให้เข้ากับแต่ละบริบทของสังคมตามความถนัดของตนเอง โดยกระบวนท่าฟ้อนดังกล่าวมาจากการฟ้อนในรูปแบบดั้งเดิมของผู้ชาย คือ ฟ้อนเชิง และกระบวนท่าฟ้อนที่มาจากรูปแบบการแสดงของผู้หญิง ชื่อท่าฟ้อนมาจากกิริยาในการแสดงออกของกระบวนท่าฟ้อน ธรรมชาติ และวิสัยของสัตว์ ทั้งกระบวนท่าฟ้อนและชื่อแม่ท่าฟ้อนปรับให้สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม เครื่องดนตรีประกอบ ได้แก่ วงกลองล้านนา วงสะล้อ ซึง วงปี่พาทย์ล้านนา นอกจากนั้นยังพบว่าชื่อกระบวนท่าฟ้อนของศิลปินทั้ง 3 ท่าน ใช้ชื่อท่าฟ้อนเดียวกันในบางกระบวนท่าแต่รูปแบบการฟ้อนหรือกระบวนฟ้อนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำนักของตน

References

ปี เมืองเชียงราย พจนานุกรมยวนล้านนา-ไทยปริวรรต. (2555). เชียงราย: จังหวัดเชียงราย สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, (2557), อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พ่อครูคำ กาไวย์ : ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2535 (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน). เชียงใหม่ : กองกองทุน ส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2560). ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2559, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, หน้า 233.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, (2562). คำประกาศเกียรติคุณ นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน - ช่างฟ้อน) พ.ศ. 2559 สูจิบัตรเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร:กองทันส่งเสริมงานวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2565). ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565. จาก http://art.culture.go.th/art_aboutUs.php

ดิษฐ์ โพธิยารมย์. (2553). องค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ นายมานพ ยาระณะ. รายงานวิจัยสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2553. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, เชียงใหม่.

รัตนะ ตาแปง. (2563). ฟ้อนเชิงสายสกุลช่างฟ้อนแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์. ในเอกสารประกอบการสอนรายวิชา 183141 ศิลปะการแสดงพื้นเมืองล้านนาแบบบุรุษเพศ. หน้า 55-110. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วิมลศรี อุปรมัย. (2563). นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนั่น ธรรมธิ. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 3. กรุงเทพ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สมภพ เพ็ญจันทร์. (2565). ความหมายของชื่อท่าในฟ้อนปะถะมะลายเชิง พ่อครูคำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=cD7X1sFyDCY

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30