การพัฒนาชุดกิจกรรมการใช้เทคนิคนาฏศิลป์อินเดียเพื่อป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

ผู้แต่ง

  • ราเมศ ลิ่มตระกูล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ธรากร จันทนะสาโร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ศรีรัฐ ภักดีรณชิต วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการใช้เทคนิคนาฏศิลป์อินเดีย, ท่าทางกายภาพบำบัด, นาฏศิลป์อินเดีย, ออฟฟิศซินโดรม, กลุ่มคนทำงานสำนักงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งมาย คือ 1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคนิคนาฏศิลป์อินเดีย สำหรับกลุ่มคนทำงานที่เสี่ยงต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม 2. เพื่อเปรียบเทียบความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสำหรับกลุ่มคนทำงานที่เสี่ยงต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมก่อนและหลังการทำกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคนิคนาฏศิลป์อินเดีย และ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคนิคนาฏศิลป์อินเดีย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงทดลองเป็นหลักผสมผสานกับงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่ในช่วงระดับอายุ 23-40 ปี จำนวน 30 คน  ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบชุดกิจกรรมการใช้เทคนิคนาฏศิลป์อินเดียเพื่อป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม โดยใช้ทฤษฎีการ        เคลี่อนไหวทางนาฏศิลป์อินเดียผสมผสานกับท่าทางทางกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยล้าบริเวณดวงตา คอ บ่า ไหล่ แขน มือ ช่วงตัว ช่วงขา และช่วงเท้า อันเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความยืดหยุ่นของร่างกายเพิ่มขึ้นและมีระดับความเจ็บปวดของร่างกายระหว่างการทำงานแตกต่างและลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการแสดงความพึงพอใจหลังเข้าร่วมชุดกิจกรรมการใช้เทคนิคนาฏศิลป์อินเดียอยู่ที่ภาพรวมที่ค่าเฉลี่ย 4.43 อยู่ในระดับมากที่สุด                                                                      การอภิปรายผลพบว่า การพัฒนาชุดกิจกรรมการประยุกต์ใช้นาฏศิลป์อินเดียเป็นการบูรณาการศาสตร์ทางด้านนาฏศิลป์อินเดียและกายภาพบำบัด โดยการเคลื่อนไหวที่ใช้กล้ามเนื้อครอบคลุมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาการกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างคุณค่าของชุดกิจกรรม รวมไปถึงเป็นการป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มคนทำงานนำกิจกรรมประยุกต์จากนาฏศิลป์อินเดียไปใช้ในชีวิตประจำวัน

References

กัญญาวีร์ เปี้ยนสีทอง. (2561, มกราคม - มิถุนายน). การบริหารกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ โดยใช้กิจกรรมนาฏศิลป์บำบัด สำหรับชุมชนไทยพวน จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6(11), 127-136.

จารุวรรณ ปันวารี, และ จักรกริช กล้าผจญ. (2552). อาการปวดคอที่เกิดกับบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ : การศึกษาปัจจัยทางการยศาสตร์. สืบค้นจาก http://rehabmed .or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-279.pdf

ณัฐพร วิศาลธรกุล. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมนาฏศิลป์สากลสำหรับกลุ่มคนทำงาน. สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1071/1/gs591130340.pdf

ณัชพล คุณณะรักษ์ไทย. (2562). ออฟฟิศซินโดรม ป้องกันได้ด้วย วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ. สืบค้นจาก https://health.mthai.com/howto/health-care/19043.html

ปรมาภรณ์ ดาวงษา. (2558). อาการบาดเจ็บสะสม. สืบค้นจาก http://newtdc.thailis. or.th/docview.aspx?tdcid=364117

ฤตพชรพร ทองถนอม. (2560). นาฏยศิลป์สร้างสรรค์พิธีอรังกิตรัมในภารตะนาฏยัม. ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกสาร อิเล็กทรนิกส์.

ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2554). นาฏศิลป์เพื่อเด็กที่มีความพกพร่องทางการได้ยิน. ระดับปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

แสง มนวิทูร. (2541). นาฎยศาสตร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากรพิมพ์.

Nair, S. (2013, January). Mudra: Choreography in hand. Body, Space & Technology (BST). (n.d)12, 1-12. Retrieved from https://www.bstjournal.com/article/id/6806/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29