การใช้วัสดุที่หาซื้อได้ภายในประเทศ เพื่อสร้างสรรค์ฉากผ้าในงานฉากละครเวที
คำสำคัญ:
ฉากละครเวที, ฉากชนิดสองมิติ, ดรอป, คัทดรอป, หาซื้อได้ภายในประเทศบทคัดย่อ
การใช้วัสดุที่หาซื้อได้ภายในประเทศ เพื่อสร้างสรรค์ฉากผ้าในงานฉากละครเวที เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในการผลิตงานฉากละครเวทีชนิดผ้า ที่มีความสอดคล้องกับบริบทประเทศไทยในด้านทรัพยากรบุคคล วัสดุและเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้เข้ากับงานออกแบบฉากละครเวทีชนิดผ้าในรูปแบบต่างๆ โดยที่ยังสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของงานออกแบบฉากละครเวที ทั้งในด้านความสวยงามและความแข็งแรงทนทานได้
ฉากผ้าขนาดใหญ่ ชนิดดรอป (drop) นิยมใช้ผ้าผืนเดียวหน้ากว้างที่ต้องสั่งทำเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ภาพบนเวทีที่สวยงามสมบูรณ์ ส่วนฉากผ้าชนิดคัทดรอป (cut drop) จะมีการใช้วัสดุเพิ่มเติมคือตาข่ายและกาวที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานฉาก วัสดุบางอย่างไม่สามารถหาซื้อได้ในประเทศหรือต้องมีการนำเข้าในราคาสูง จึงต้องมีการเลือกวัสดุในประเทศที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาใช้ทดแทน
ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาปรับปรุงการทำงานในฉากละครเวทีเรื่อง The Love Song of J. Alfred Prufrock โดยเลือกผ้าที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับตัวอย่างผ้าจากต่างประเทศ ได้เป็นผ้าดิบลายขัดที่ผลิตในประเทศ ใช้ช่างเย็บผ้าม่านที่มีความชำนาญและเย็บด้วยจักรอุตสาหกรรมจะทำผลงานออกมาได้ดีที่สุด ผ้าจะถูกทำให้เรียบอยู่ตัวด้วยการลงแป้งอัดผ้าเรียบ ใช้การขึงให้ตึงด้วยตะปูขนาดเล็กบนพื้นที่ทำงานที่กว้างขวางพอกับชิ้นงานทั้งหมด ทำให้แห้งด้วยการสอดพัดลมเป่าเข้าด้านใต้ให้ผ้าลอยพองขึ้น ทั้งในขั้นตอนอัดผ้าเรียบและระบายสีจะช่วยให้ผ้าไม่เกิดรอยยับหลังแห้ง การทำคัทดรอป (cut drop) เลือกใช้ตาข่ายการเกษตรที่มีขายตามท้องตลาด ทำเครื่องมือช่วยขึงให้ทำงานง่ายขึ้น วัสดุที่ใช้ติดระหว่างตาข่ายและฉากผ้าเป็นกาวหนังควายซึ่งมีแรงยึดเกาะได้ดี แห้งเร็ว และมีเนื้อกาวที่เหมาะกับการยึดระหว่างปมของตาข่ายกับฉาก วัสดุและขั้นตอนเทคนิคที่เลือกใช้ช่วยให้สร้างผลงานได้ดีขึ้น มีความสวยงามและตอบโจทย์ความต้องการของงานฉากละครเวที โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ในประเทศและทักษะของผู้ปฏิบัติในบริบทสังคมไทย สามารถนำไปปรับใช้เข้ากับงานออกแบบฉากละครเวทีและเป็นแนวทางในการทำงานต่อไปได้
Downloads
References
กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551). งานฉากละคร 1. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์ จำกัด.
กฤษรา วริศราภูริชา. (2558). บทบาทของงานด้านเทคนิคกับการแสดง. ใน ปริทัศน์ศิลปการละคร. นพมาส แววหงส์ (บรรณาธิการ). หน้า 169-190. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2558). ภาพบนเวที. ใน ปริทัศน์ศิลปการละคร. นพมาส แววหงส์ (บรรณาธิการ). หน้า 153-168. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บริษัท แมท คอนเนอร์ จำกัด. (2564). What is ผ้าดิบ. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563, https://www.mattcorner.com/what-is-%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9A/
Arnold Richard L. (1994). Scene Technology. 3rded. Prentice Hall, New Jersey.
Crabtree, Susan & Beudert, Peter. (2012). Scene Art for the Theatre. 3rded. Burlington, MA: Focal Press.
Emblem, M. Hardwidge. (2012). Packaging Technology. 1st ed. Oxford: Woodhead Publishing.
Shields, J. Adhesive Bonding. (1975). Design Council. Oxford: Oxford University Press.
Warren C. Lounsbury and Norman C. Boulanger. (1999). Backstage from A to Z. 4th ed., University of Washington Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ