การปรับตัวเพื่อการพัฒนาการจัดการของพิพิธภัณฑ์ในภาวะปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • กฤศณัฏฐ์ ดิลกศิริธนภัทร์ สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรมวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นพดล อินทร์จันทร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้, การปรับตัว, การจัดการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ จัดทำขึ้นจากการวิจัยเรื่อง การปรับตัวเพื่อการพัฒนาการจัดการวัฒนธรรมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้รูปแบบการวิจัย (Research Design) คือ การวิจัยโดยการสัมภาษณ์ (Interview) ซึ่งเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานโดยใช้การสนทนาหรือการเจรจาอย่างมีจุดมุ่งหมายระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ นักวิจัย (ฐานะผู้สัมภาษณ์) และผู้ให้ข้อมูล (ฐานะผู้ถูกสัมภาษณ์) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน 5 แห่ง ผลการวิจัยพบว่าการปรับตัวของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านสังคมตลอดจนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาการจัดการ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ต่อชุมชนและสังคม จากการที่ได้ศึกษาพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ทั้ง 5 แห่ง ได้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการ ที่เกิดจากกระบวนการการปรับตัวของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ที่มีต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้คนที่เข้ามาศึกษาองค์ความรู้และสุนทรียศาสตร์ รวมถึง ชุมชน และ สังคม ออกมาเป็น “รูปแบบ การจัดการพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ตามการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขึ้น โดยมีหัวข้อองค์ประกอบหลัก จำนวน 13 หัวข้อ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินรูปแบบการจัดการที่ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ตามการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของกลุ่มบุคคล ชุมชน และสังคม ที่มีความต้องการการเรียนรู้และเสริมสร้างสุนทรียะในพิพิธภัณฑ์ สร้างความหลากหลายของแหล่งเรียนรู้ในสังคมปัจจุบัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541) และคณะ. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพ: พัฒนาศึกษา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2548). การวิจัยธุรกิจ: ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จากัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จากัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สุนทรียา ไชยปัญหา และ อุรารักษ์ ศรีประเสริฐ. (2559). แนวคิด ทฤษฏีวัฒนธรรมการจัดการ : การปรับตัวภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 1(ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559): หน้าที่ 104 - 116

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29