การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีใหม่ :การส่งเสริมการท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ด้วยยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • กิ่งกนก เสาวภาวงศ์ คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ชมพูนุท ภาณุภาส คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็ก, เกาะรัตนโกสินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีใหม่ :การส่งเสริมการท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ด้วยยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็ก มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กและเพื่อพัฒนาแนวทางการการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กในบริบทของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีการสัมภาษณ์โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวบริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ จำนวน 7 คน และผู้วิจัยลงพื้นที่ด้วยยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อสำรวจพื้นที่โดยใช้แบบสำรวจเพื่อสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ในบริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์เหมาะสมที่จะทำการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเนื่องจากมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย แต่ทว่าอาจขาดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะไฟฟ้า โดยผู้วิจัยทำการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะไฟฟ้าตามทักษะของผู้ขับขี่แบ่งได้เป็น 3 เส้นทาง สำหรับผู้มีทักษะระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง  และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว ด้านยานพาหนะไฟฟ้าและการจราจรด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สรุปขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยปี พ.ศ.2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565, จาก https://www.mots.go.th/old/ewt_dl_link.php?nid=12032.

กรมท่องเที่ยว. (2563). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2565, จากhttps://www.dot.go.th/storage/กลุ่มแผน/5V7jtvCF7hvNiPXPU7MOdT7giHiF1ZbRokN8nBVx.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). ทิศทางท่องเที่ยวไทยในปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565, จากhttps://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-thailand-2562/

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ใน วารสารมนุษยศาสตร์. 18(1): 31-50.

ผู้ให้สัมภาษณ์. คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์เมื่อ 28 มกราคม 2565.

ผู้ให้สัมภาษณ์. Go Scooter Bangkok. สัมภาษณ์ เมื่อ 12 มกราคม 2565.

พศิน สุวรรณเดช. (2558). พฤติกรรมการเดินของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ ผังเมืองมหาบัณฑิต การวางแผนภาคและเมือง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพลิน พลอยพราว (2559). แนวทางการพัฒนากิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร และคณะ. (2564, มกราคม - มิถุนายน). การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 22 (2): 83 - 95.

วรัญญู แก้วกัลยา และ จิรัสย์ ศิรศิริรัศม์. (2560, พฤษภาคม-สิงหาคม). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13 (2): 201-215

วิทวัส กรมณีโรจน์ และนราพงษ์ จรัสศรี. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 21 (2): 83 – 93.

ศราวัสดี นวกัณห์วรกุล และ ดวงเงิน ซื่อภักดี. (2564, มกราคม-เมษายน). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลาฝั่งบ่อยาง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 13 (1): 80 - 98.

ศุภากร สุรดินทร์กูร และ ศราวุธ แรมจันทร์. (2563, กรกฎาคม - ธันวาคม). การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ. 22 (2): 72 – 84.

สกาวรัตน์ บุญวรรโณ, เกษตรชัย และหีม และ บัณฑิตา หลิมประดิษฐ์. (2563, มกราคม - เมษายน). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารราชภัฏเชียงใหม่. 21 (1): 1-14.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์. (2564). รถไฟฟ้า EV คืออะไร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565, จาก https://erdi.cmu.ac.th/?p=2956

สหประชาชาติ ประเทศไทย. (2558). พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก https://www.un.or.th/globalgoals/th/global-goals/affordable-and-clean-energy/.

องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างชุมชนแห่งความสุข. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565, จาก https://www.dasta.or.th/th#

Chang, J. (2020). The Best Micromobility Personal Electric Vehicle. EUC Guide. Retrieved May 1, 2022, from https://eucguide.com/the-best-micromobility-personal-electric-vehicle/

Cohen, S. A., & Hopkins, D. (2019). Autonomous vehicles and the future of urban tourism. Annals of Tourism Research, 74, 33-42.

Neger, C., et al. (2021). Carbon intensity of tourism in Austria: Estimates and policy implications. Journal of Outdoor Recreation and Tourism, 33(100331), 1-8.

Patton, M. Q. (2002). Qualitative research & evaluation methods. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Prideaux, B., & Carson, D. (2011). Drive tourism trends and emerging markets. New York, NY: Routledge.

United Nations World Tourism Organization. (2013). Global code of ethics for tourism. Madrid, Spain: United Nation World Tourism Organization

Williams, P. W., & Soutar, G. N. (2009). Value, satisfaction, and behavioral intentions in an adventure tourism context. Annals of Tourism Research, 36: 413-438.

World Health Organization. (2018). Ambient (outdoor) air pollution. Retrieved March 16, 2022, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ambient-(outdoor)-air-quality-and-health/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29