โฮม เฮือน เฮา: การสร้างสรรค์ละครเวทีในรูปแบบดีไวซิ่งบนฐานอัตลักษณ์อีสาน

ผู้แต่ง

  • ธนัชพร กิตติก้อง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

วิจัยการแสดง, ละครดีไวซิ่ง, นักแสดงชาวอีสาน, อัตลักษณ์อีสาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “เฮ็ด-เหล่น-เป็นอีสาน: การค้นหาองค์ความรู้และกลวิธีในการแสดงของนักแสดงชาวอีสานเพื่อสร้างสรรค์ละครเวทีอีสานร่วมสมัย ” มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากลวิธีและแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานละครเวทีและการแสดงร่วมสมัยที่มีลักษณะเฉพาะและสะท้อนถึงตัวตนของคนอีสาน โดยอาศัยการวิเคราะห์แนวคิด หลักการ และกลวิธีการแสดงของตะวันตกในการสร้างสรรค์การแสดงและตัวละคร (เฮ็ด/เหล่น) ของนักแสดงชาวอีสานรุ่นใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิดของทฤษฎีการแสดง (Performance) และทฤษฎีระหว่างวัฒนธรรม (Interculturalism) ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางศิลปกรรมในรูปแบบปฏิบัติการ (Practice as Research) มุ่งสังเคราะห์องค์ความรู้ของนักแสดงชาวอีสานรุ่นใหม่ที่เกิดจากฐานปฏิบัติ โดยการนำเสนอในบทความวิจัยชิ้นนี้เป็นการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานละครเวทีเรื่อง โฮมเฮือนเฮา ด้วยวิธีการดีไวซิ่ง ซึ่งนำเสนอบทวิเคราะห์จากกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงของนักแสดงชาวอีสานที่สร้างสรรค์ตัวละครอีสานร่วมสมัยให้มีลักษณะเด่น คือ มีความฝัน ความโหยหา ความสงสัย ความสนุก มีทัศนคติที่เต็มไปด้วยความหวัง มักแสดงให้เห็นถึงการพยายามประคับประคองตนเองท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และมีการโต้ตอบวาทกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับคนอีสานด้วย

References

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560, มกราคม-มิถุนายน). วาทกรรมคนอีสานผ่านพื้นที่อุดมคติในแบบเรียนสังคมศึกษาร่วมสมัยของไทย”. วารสารสังคมศาสตร์. 29(1): 161-188.

พรรัตน์ ดำรุง. (2564). วิจัยการแสดง: สร้างความรู้ใหม่ด้วยการทำละคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.

พัฒนา กิติอาษา. (2557). สู่วิถีอีสานใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.

สลิสา ยุกตะนันทน์. (2556, กรกฎาคม-ธันวาคม). อัตลักษณ์เพื่อ ‘วันพรุ่งนี้’: บทวิพากษ์การเมืองเชิงอัตลักษณ์จากสำนักคิดหลังอาณานิคม. วารสารสังคมศาสตร์. 9(2): 61-103.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). หมู่บ้านอีสานยุค “สงครามเย็น”: สังคมวิทยาของหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: มติชน.

อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การต่อรองอัตลักษณ์อีสานของวัยรุ่นอีสานในยุคดิจิทัล. วารสารพัฒนศาสตร์. 3(1): 1-39.

Alexander, S. T. (2020). Identity in Isan and the Return of the Redshirts in the 2019 Elections and Beyond. Kyoto Review of Southeast Asia. Retrieved January 9, 2021, from https://kyotoreview.org/issue-27/Isan-identity-return-of-redshirts-2019-elections-and-beyond/

Butler, J. (1990). Gender Trouble: Feminism and the Subversion of Identity. New York: Routledge.

Drummond, J. J. (2020, August). Self-identity and personal identity. Phenomenology and the cognitive sciences. 2021(2): 235-247.

Giddens, A. (1991). Modernity and self-identity: Self and society in the late modern age. Standford: Standford University Press.

Heddon, D. & Milling, J. (2006). Devising Performance: A Critical History. Hampshire: Palgrave Macmillan.

Kittikong, T. (2022, March). Isan Contemporary Performance: Embodied Isan Tone in Thai Contemporary Performance making. Asian Theatre Journal. 39(1): 185-208.

Landgraf, E. (2001). Improvisation as arts: Conceptual challenges, historical perspectives. London: Continumm.

McCargo, Duncan and Kritsadawan Hongladarom. (2004, October). Contesting Isan-ness: Discourses of Politics and Identity in Northeast Thailand. Asian Ethnicity. 5(2): 219-234.

Peters, G. (2009). The philosophy of improvisation. Chicago: The university of Chicago Press.

Phatharathananunth, S. (2001). Civil Society in Northeast Thailand: The Struggle of the Small-Scale Farmers Assembly of Isan. Ph.D. Dissertation. University of Leeds. United Kingdom.

Thailand Creative & Design Center (TCDC). (2005). Isan Retrospective: Deprivation, Creativity and Design. Bangkok: A Division of OKMD, Office of the Prime Minister.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29