เครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรมชุด สีสันศิลปวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
คำสำคัญ:
เครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรม, องค์ประกอบศิลป์, เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรม ชุดสีสันศิลปวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จำนวน 2 ชุด แบ่งเป็น ชุดที่ 1 ผลงานรูปแบบ 2 มิติ (นูนต่ำ) และ ชุดที่ 2 ผลงานรูปแบบ 3 มิติ (ลอยตัว) 2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรม ที่แสดงเนื้อหาและองค์ความรู้ทางวิชาการศิลปกรรมร่วมสมัยในรูปแบบใหม่ โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมและทฤษฎีหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ 3. เพื่อสร้างคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ผ่านผลงานเครื่องปั้นดินเผา และ 4. เพื่อเป็นสื่อการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอุดมศึกษา รวมถึงเป็นแนวคิดให้ชุมชนด่านเกวียนสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ช่างปั้นพื้นบ้าน ศิลปิน นักวิชาการ ตลอดจนชาวบ้านในชุมชนบ้านด่านเกวียน เพื่อสรุปความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มาเป็นกรอบความคิดสำหรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลการศึกษาพบว่า
- 1. เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนศิลปวัฒนธรรมของชุมชนบ้านด่านเกวียนที่ครอบคลุมบริบทสังคม เศรษฐกิจและการเมืองมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500 จนถึงปัจจุบัน
- 2. การศึกษาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนผ่านทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมและทฤษฎีหน้าที่นิยม สามารถสรุปกรอบแนวคิดสร้างสรรค์ผลงานได้ดังต่อไปนี้ 1) แนวคิดความเป็นดั้งเดิม 2) แนวคิดทฤษฎีออกแบบกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ 3) แนวคิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลภายนอกชุมชน 4) แนวคิดกระบวนการลดต้นทุนการผลิตเพื่อผลกำไรตามระบบทุนนิยม 5) แนวคิดเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนรูปแบบดั้งเดิมที่เลือนหาย 6) แนวคิดกระบวนการศิลปกรรมร่วมสมัยในชุมชนด่านเกวียน 7) แนวคิดพลวัตศิลปวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาร่วมสมัยในชุมชนด่านเกวียน
- ผลงานเครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรมทั้งรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ จำนวนทั้งหมด 51 ชิ้นงาน ที่สร้างสรรค์ผ่านกรอบแนวคิดทั้ง 7 แนวคิด ได้แสดงองค์ประกอบทางศิลปะที่สมบูรณ์สวยงาม และยังสะท้อนเนื้อหาและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนด่านเกวียนได้อย่างชัดเจน ผลงานจึงมีคุณค่าเชิงศิลปกรรมร่วมสมัยในรูปแบบใหม่ สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาได้
Downloads
References
กลุ่มศิลปินอีสาน. (2535). สูจิบัตรนิทรรศการศิลปะ กลุ่มอีสาน ครั้งที่ 6 และ 9. ศิลป์สยามการพิมพ์.
เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน. (2546). นครราชสีมา: ทัศน์ทองการพิมพ์.
ฉัตร์ชัย อรรถปักษ์. (2552). องค์ประกอบศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพัฒน์จำกัด.
เดช นานกลาง. ศิลปิน. สัมภาษณ์. 12 มีนาคม 2564.
ประสพ ลี้เหมือดภัย. (2543). องค์ประกอบในงานเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2547). พะเยาท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์กับความเป็นท้องถิ่น : หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กับการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชา ธงภักดิ์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์. อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบเซรามิก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. สัมภาษณ์. 25 ตุลาคม 2564.
วัฒนา ป้อมชัย. ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์. 11 มีนาคม 2564.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา วิทยาลัยครูนครราชสีมา. (2530) ข้อมูลพื้นฐานบ้านด่านเกวียน ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : โรงพิมพ์สมบูรณ์ออฟเซ็ทการพิมพ์.
สราวุฒิ วงษ์เนตร. (2561). เทคนิคการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพฯ : ซากุระ.
สิทธิเดช โรหิตะสุข. (2552). กลุ่มศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
สืบศักดิ์ สิริมงคลกาล. (2560). การพัฒนาระบบและกลไกการดำรงอยู่ของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
___________. (2561). เครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรม. นครราชสีมา : โคราชมาร์เก็ตติ้ง แอนด์โปรดักชั่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ