ละครในราชสำนัก : องค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย
คำสำคัญ:
ละครในราชสำนัก, องค์ความรู้, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย, สถานภาพละครในราชสำนักบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการสืบทอดละครในราชสํานัก รวมทั้งศึกษาสถานภาพละครในราชสํานักที่ปรากฏในสังคมไทย เพื่อให้เครือข่ายนาฏยศิลปินเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมปกป้ององค์ความรู้ละครในราชสํานักในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารหลักฐานต่างๆ การสัมภาษณ์ การสังเกต นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปผล จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและจัดทำเป็นเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบละครในราชสำนักจะมุ่งเน้นศิลปะการร่ายรำที่ประณีต งดงามและยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด วิธีการสืบทอดละครในราชสำนักมีลักษณะเป็นภูมิปัญญาจากความสามารถและประสบการณ์เฉพาะตัวของครูผู้ฝึกซ้อม แบ่งเป็น 1.ทางตรง คือจากประสบการณ์ในการแสดงที่ตกผลึกเป็นองค์ความรู้ 2.ทางอ้อม คือการเรียนรู้จากผู้อื่น ทั้งจากครูผู้ฝึกหัด ผู้เชี่ยวชาญรวมไปถึงผู้ควบคุมการแสดง ซึ่งรูปแบบและวิธีสืบทอดดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะบุคคล
ในด้านสถานภาพของละครในราชสำนัก สรุปเป็น 4 ระยะ ดังนี้ 1) ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ 2) ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ 3) ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานราชการ 4) ภายใต้ระบบสถาบันอุดมศึกษา ทั้งที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยพบว่ามีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 48 แห่ง ที่จัดการศึกษาด้านนาฏศิลป์ไทยตามแบบราชสำนัก แต่เป็นเพียงการฝึกหัดชุดการแสดงที่ใช้เวลาไม่มาก สำหรับการฝึกหัดเป็นตอนซึ่งใช้เวลาในการแสดงยาวนานคงมีเพียง 15 แห่ง ดังนั้น สถานภาพของละครในราชสำนักจึงมีความเสี่ยงที่จะสูญหายได้ในอนาคต
Downloads
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย. (2552). โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม.
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2557). นาฏยศิลป์ตะวันตกปริทัศน์. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
กรมศิลปากร. (2550). การศึกษา และการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละครรำ. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2544). นาฏยศิลป์อินโดนีเซีย. มปท.
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2559). ราชรถ ราชยาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวรรณภูมิ เฮอริเทจ จำกัด.
อาคม สายาคม. (2545). รวมงานนิพนธ์ของนายอาคม สายาคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด (1977).
อารดา สุมิตร. (2516). ละครในของหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2546). อิเหนา. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์.
เวณิกา บุนนาค. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย). สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ วันที่ 19 มกราคม 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ