การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์จากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์

ผู้แต่ง

  • รักษ์สินี อัครศวะเมฆ สาขาวิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, เทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์, สิ่งเร้าทางนาฏศิลป์, จากการรู้สึกและการรับรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาแนวคิดการเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ 2) สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ 3) นำเสนอแบบจำลอง (Model) ทางนาฏศิลป์การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ โดยใช้แนวทางวิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย  ข้อมูลเชิงเอกสาร   การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์ การดำเนินการทดลองสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย 

ผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1) การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์  มีลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายที่แสดงออกให้เห็นทันที เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น ไม่ได้เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าหรือกำหนดลีลาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เกิดจากประสบการณ์หรือสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นนำไปสู่การเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างที่แตกต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายในการเคลื่อนไหว 2)สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดการแสดง คือ สิ่งเร้าจากการรู้สึกและการรับรู้ (Sensation and Perception) ของมนุษย์ เป็นตัวกระตุ้นในการเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์  โดยสิ่งเร้าที่ผู้วิจัยนำมาคือสิ่งของที่สามารถรับประทานได้โดยคัดเลือกจากลักษณะทางกายภาพของสิ่งของที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดำเนินการทดลองแนวคิดนี้ทั้งหมด 1 องก์ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ องก์ที่ 1 ระหว่างช่วงที่ 1 กับช่วงที่ 2 ความแตกต่างกันตรงที่ประสาทสัมผัสทางด้านการมองเห็น ช่วงที่ 1 : ปิดตา  ผู้วิจัยต้องการให้นักแสดงได้สัมผัสและรับรู้ถึงรสชาติ รวมทั้งการใช้มือสัมผัสสิ่งเร้าโดยปราศจากการมองเห็น  ในขณะที่ ช่วงที่ 2 จะเปิดตาและให้นักแสดงได้พินิจพิจารณาสิ่งเร้าที่ได้รับ นักแสดง ผู้วิจัยกำหนดและคัดเลือกนักแสดง โดยคัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะทางนาฏศิลป์สากล ผู้เคยได้เรียนหรือมีประสบการณ์เข้าร่วมเรียนรู้เทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์มาแล้ว การเคลื่อนไหวร่างกาย ดำเนินการออกแบบการเคลื่อนไหวโดยใช้ สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นในการเคลื่อนไหวร่างกายของนักแสดง เพื่อนำมาร้อยเรียงให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่สอดคล้องและเหมาะสมกับแนวคิดการแสดงที่กำหนดไว้ 3) แบบจำลอง (Model) ทางนาฏศิลป์การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ สามารถวิเคราะห์ออกมาทั้งหมด 4 ขั้นตอน เป็นแนวทางที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาการออกแบบลีลาในการคำนึงถึงความหลายของรูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์และคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏศิลป์ต่อไป

References

โกสุม สายใจ; และคณะ. (2548). สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพฯ : โครงการศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

ธรากร จันทนะสาโร. (2558). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.

ปอรรัชม์ ยอดเณร. (2561). การพัฒนาอวัจนภาษาในการสื่อสารผ่านกระบวนการสื่อสารการแสดง. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณาฉบับพิเศษ ฉบับพิเศษเรื่อง ทัศนคติ ความพึงพอใจ กับการสื่อสารผ่านสื่อที่แตกต่าง, 11(ฉบับพิเศษ), 15-25.

สมพงษ์ เลิศวิมลเษม. (2558). ประดิษฐ์ท่า ไร้ทิศทาง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 53-60.

สมพร ฟูราจ. (2554). Mine: ศิลปะท่าทางและการเคลื่อนไหว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Lihs, H. (2009). Appreciating dance: A guide to the world’s liveliest art (4th ed.). Canada: Princeton Book Company.

Smith, J.M. (2010). Dance composition: A practice guide to creative success in dance making (6th ed.). London: A&C Black.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30