การพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นอับไซเคิล กรณีศึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า, อำเภอวัฒนานคร, จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • วรฐ ทรัพย์ศรีสัญจัย วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิรุฬห์ วุฒิฤทธากุล วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แฟชั่น, อับไซเคิล , เศรฐกิจหมุนเวียน , ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นอับไซเคิล กรณีศึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า, อำเภอวัฒนานคร, จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้บริโภคสินค้าแฟชั่น 2. ผู้ผลิตสินค้ากลุ่ม (OTOP) 3. ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบอับไซเคิล  โดยการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาทักษะฝีมือ ความสามารถในการผลิตชิ้นงานของชาวบ้านในชุมชน ด้วยวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์จากข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่น โดยมีการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดขอบเขตแนวคิด รูปแบบ (Style) ตามรสนิยมกลุ่มเป้าหมาย ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้ความเห็นตรงกันในเรื่องการเพิ่มมูลค่า จากการออกแบบสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนการทดลองผลิตต้นแบบด้วยเทคนิคการตัดต่อเศษผ้าเหลือจากระบบอุตสาหกรรม โดยการวิจัยในครั้งนี้ ได้ผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นอับไซเคิล เป็นเครื่องแต่งกายแฟชั่นสำหรับ บุรุษ และสตรี ทั้งหมด10 ชุด ในรูปแบบที่เหมาะกับวิถีชีวิต รสนิยม ไลฟ์สไตร์ของ (Gen Y) สวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน ในรูปแบบแฟชั่นสตรีทแวร์ (Street wear) ตามรสนิยมของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาด้านการผลิต จากวัสดุเศษผ้า สุดท้ายแนวทางการนำเสนอสินค้าผ่านทางช่อทางออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคสินค้าโดยตรง งานวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับแนวโน้มเรื่องเศรฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดขยะสร้างมูลค่าและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสําหรับการต่อยอดอุตสาหกรรมแฟชั่น และสร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

References

จุฑามาศ โกเมนไทย. (2562). Circular Fashion. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564,จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.1122.1.0.html, สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ธงชัย สันติวงษ์. (2535). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธารริน อดุลยานนท์. (2561). Moreloop: ตัวกลางขายผ้าเหลือคุณภาพดีจากโรงงานเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2562, จาก https://adaymagazine.com/moreloop-circular-economy.

นิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์. (2561). Circular Economy Through Disruptive Innovation. สืบค้น 16 สิงหาคม 2562, จาก http://www.tei.or.th/file/events/180803-Circular-Economy-Nirun_149.pdf

ปางอุบล อำนวยสิทธิ์. (2560). Circular Economy: พลิกวิกฤตทรัพยากรด้วยระบบเศรษฐกิจใหม่. สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/3831 Marketeer Editor.

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2550). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภันณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ภัทราพร แย้มละออ. (2561). เศรษฐกิจหมุนเวียน ตอนที่22 ตัวอย่างธุรกิจและอุตสาหกรรมที่กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562, จาก http://www.allaroundplastics.com/article/sustainability/2069

วรฐ ทรัพย์ศรีสัญจัย. (2560). การสร้างอัตลักษณ์การออกแบบแฟชั่นโดยใช้แนวคิดภาพต้นแบบตราสินค้า. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่18 ฉบับที่ 2 (36) หน้า 118-126.

วรฐ ทรัพย์ศรีสัญจัย. (2558). การสร้างอัตลักษณ์การออกแบบแฟชั่นโดยใช้แนวคิดภาพต้นแบบตราสินค้า. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมพร อินทร์ประยงค์, ศิลปินแนว Folk art. สัมภาษณ์วันที่ 8 พฤษภาคม 2563

อมรพล หุวะนันทน์, ผู้ก่อตั้ง Moreloop. สัมภาษณ์วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29