ว่าด้วยความงาม: รูปแบบนิยมกับการผูกทางแปรในดนตรีไทย
คำสำคัญ:
สุนทรียศาสตร์, รูปแบบนิยม, ทางแปร, ดนตรีไทยบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องว่าด้วยความงาม: รูปแบบนิยมกับการผูกทางแปรในดนตรีไทย มีความมุ่งหมายในการชี้ประเด็นเรื่องความงามซึ่งเป็นศาสตร์สำคัญทางอรรฆวิทยาของดนตรีที่เป็นคุณสมบัติเชิงนามธรรม และตั้งคำถามกับการผูกทางแปรในดนตรีไทย ที่ถือว่าเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ทางดนตรีไทยขั้นพิเศษ เมื่อทางแปรเป็นวัตถุวิสัยที่จำต้องเชื่อมโยงกับอัตวิสัยของนักดนตรี ความงามที่สำแดงออกมาจำเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์และหาแนวคิดเชิงโครงสร้างดนตรี เพื่อนิยามกระบวนการสำแดงความงาม บทความนี้จึงขอเสนอแนวคิดในกระบวนการผูกทางแปรที่มีความเป็นแบบแผนนิยม ความเป็นแบบแผนนิยมจึงเป็นกรอบความคิดในการตีความรูปแบบความงามของทางแปรในหลายระดับ คือ สร้างต้นกำเนิด บรรเจิดจินตนาการ สรรค์ประสานเสียงสรรพ ประดับสุนทรรส ปรากฏสื่อสำแดง ความเป็นระบบระเบียบของทางแปรย่อมสะท้อนความงามจากเหตุที่ว่าความงามเกิดจากความสมมูล (Sanitary) ของทางแปร และความสัมพันธ์กัน (Coherence) ผ่านขั้นตอนและระดับของรูปแบบทางแปรสามระดับ คือ ระดับสอดคล้องตามปัจจัยของการวางองค์ประกอบ ระดับจัดโครงสร้างทำนองแปร และระดับประสานทำนองในวงดนตรี
Downloads
References
กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จตุพร สีม่วง. (2561). คีตประพันธ์. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ชยุติ ทัศนวงศ์วรา และจรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2563, มกราคม-มิถุนายน). แนวคิดเรื่อง ทาง: เอกลักษณ์ในสังคีตลักษณ์ไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 7(1): 185-201.
เดวิด โบห์ม. (2562). ว่าด้วยความสร้างสรรค์ = On Creativity. แปลโดย พจนา จันทรสันติ กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
ประชากร ศรีสาคร. (2563, มกราคม-มิถุนายน). แนวทางการผูกกลอนซออู้เพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว กรณีศึกษารองศาสตราจารย์พิชิต ชัยเสรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 7(1): 75-95.
ยศ สันตสมบัติ. (2559). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัศการก แก้วลอย. (2558). วิภัชเพลงเรื่อง. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2560). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2561). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Collingwood, R. G. (1960). The Principles of Art. London: Oxford University Press.
Harper-Scott, J.P.E., and Samson, J. (2009). An Introduction to Music Studies. New York: Cambridge University Press.
Myers-Moro, P. (1993). Thai Music and Musicians in Contemporary Bangkok. California: University of California at Berkeley.
Promta, S. (2020). Lectures in Aesthetics: An Introduction to Philosophy of Art and Beauty. Bangkok: Wisdom Magazine Publishing House.
Wong, D. (2001). Sounding the Center History and Aesthetics in Thai Buddhist Performance. Chicago: The University of Chicago press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ