กระบวนการสื่อสารและคุณสมบัติของพิธีกรรายการพอดแคสต์
คำสำคัญ:
พอดแคสต์, พิธีกรรายการพอดแคสต์, การสื่อสารบทคัดย่อ
Podcasts (พอดแคสต์) คือ สื่อชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบของเสียงที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้น เนื่องจากสอดรับกับการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน โดยหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการจัดรายการทางพอดแคสต์ คือ ผู้ดำเนินรายการหรือพิธีกร เปรียบเสมือนผู้ส่งสารที่ต้องใช้ทักษะการเชื่อมข้อมูลและเนื้อหาไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นกลวิธีการสื่อสาร รวมถึงคุณสมบัติและเอกลักษณ์ของการเป็นพิธีกรรายการพอดแคสต์ จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารและคุณสมบัติของพิธีกรรายการพอดแคสต์ ผ่านการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ในเชิงเจาะลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพิธีกรรายการพอดแคสต์ กลุ่มผู้ควบคุมการผลิตรายการพอดแคสต์ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการด้านการสื่อสาร ที่มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ (Criterion Sampling) ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสื่อสารของพิธีกรรายการพอดแคสต์ ประกอบด้วย 1) พิธีกรควรกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารไว้ล่วงหน้าให้สอดคล้องกับเนื้อหารายการพอดแคสต์ 2) พิธีกรสามารถพูดแบบมีโครงร่าง พูดแบบฉับพลัน พูดแบบอ่านจากต้นฉบับ หรือจะแบบผสมผสาน 3) พิธีกรใช้ระดับภาษากึ่งทางการ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟัง 4) พิธีกรใช้การสื่อสารแบบสองทางที่ผู้รับสารสื่อสารกลับที่ล่าช้า 5) พิธีกรจัดการเนื้อหารายการด้วยคัดเลือกเนื้อหา ปรับเปลี่ยนเนื้อหาเพื่อการพูด และสร้างความเชื่อมโยงผู้ฟังกับเนื้อหา ผลการศึกษาด้านคุณสมบัติของพิธีกรของพิธีกรรายการพอดแคสต์ พบว่า 1) ควรมีทั้งทักษะการพูด การสัมภาษณ์และการฟังแบบลึกซึ้ง 2) ควรมีความรู้ความใจเกี่ยวกับเนื้อหารายการเป็นอย่างดี และ 3) บุคลิกภาพภายนอกไม่มีความจำเป็น
Downloads
References
ชวรัตน์ เชิดชัย. (2527). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชนินทร เพ็ญสูตร. (2561). พอดแคสต์ สื่อทางเลือกใหม่ กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดวิษ ประภายนต์. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคและรูปแบบการรับสื่อของกลุ่มผู้ฟัง Podcast เพื่อสร้างรูปแบบการนำเสนอและโปรโมทช่องรายการ Podcast ที่มีประสิทธิภาพบนแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทย.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 15(2). 251-265.
ธนโชติ วงศ์เมธิญญ์. (2563). 2020 RECAP : วงการพอดแคสต์ที่จะโตก็ดันโดนโควิด-19 เตะตัดขาซะงั้น. สืบค้นจาก https://www.songsue.co/12675/
นิษฐา หรุ่นเกษม. (2560). การเลือกและการสร้างสารสำหรับการสื่อสารชุมชน. เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้และทักษะการสื่อสารชุมชน หน่วยที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นับทอง ทองใบ. (2562). พอดแคสต์ : สื่อเสียงทางเลือกใหม่. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14. 885-894.
ปวรรัตน์ ระแวง และพนม คลี่ฉายา. (2018). Digital Literacy of Podcast Audience. Journal of Communication Arts. 36(3). 59-76.
วัลภา ฐาน์กาญจน์. (มปป.). การฟังอย่างลึกซึ้ง. ศูนย์อาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุมน อยู่สิน. (2543). แนวคิดในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง. เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงหน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อาลี ปรียากร และ กุลทิพย์ ศาสตรรุจิ. (2561). แนวทางการผลิตรายการกระจายเสียงผ่านรูปแบบรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 36(3) 47-58.
อัจฉรา หัศบำเรอ. (2551). การบรรยายการอบรมเรื่องการเตรียมความพร้อมเป็นผู้ประกาศ. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ
Forbes. (2021). The Future Of Podcasts: Business Growth Strategies. สืบค้นจาก https://www.forbes.com/sites/ellevate/2021/10/15/the-future-of-podcasts-business-growth-strategies/?sh=2821ccb5f22b
Hilliard, R. L. (1987). Television Broadcasting: an Introduction. New York: Hasting Flouse Publishers.
J W Rainsbury, S M McDonnell. (2006). Podcasts: An educational revolution in the making?. Journal of the Royal Society of Medicine. 99(9): 481-2.
RAINMAKER. (2561). Summary of Podcast Overview 2019 (iCreator Meetup No. 2). Retrieved from https://www.rainmaker.in.th/podcast-2019-icreator-meetup
Tsagkias M. (2008). PodCred: A framework for analyzing podcast preference. Conference: Proceedings of the 2nd ACM Workshop on Information Credibility on the Web, WICOW 2008, Napa Valley, California, USA, October 30, 2008.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ