การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ ชุด สะอ๋อนเจ่น ขนมเส่น บ้านประโดก ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นวลรวี กระต่ายทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ชุมพล ชะนะมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์นาฏศิลป์, ขนมจีนบ้านประโดก , สะอ๋อนเจ่น ขนมเส่น บ้านประโดก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ ชุด สะอ๋อนเจ่น ขนมเส่น  บ้านประโดก ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา                มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการผลิตขนมจีนบ้านประโดก ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์การแสดงชุด สะอ๋อนเจ่น ขนมเส่น บ้านประโดก  โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์            ผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ และผู้รู้ในชุมชนเกี่ยวกับการทำขนมจีน สำรวจข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ รวมไปถึงประสบการณ์ส่วนตัวของ    ผู้วิจัย รวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ เพื่อเป็นหลักในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นบ้านโคราช ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาในการผลิตขนมจีนโคราช             มีกรรมวิธีในการผลิต 9 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมข้าว การหมักข้าว  การโม่แป้ง การนอนแป้ง การทับแป้ง การต้มแป้ง การนวดแป้งหรือการตีแป้ง การกรองแป้ง การโรยแป้ง และการจับเส้นขนมจีน โดยนำมาเป็นหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้ บทการแสดงนำแนวคิดกรรมวิธีในการผลิตขนมจีน รวมทั้งวิถีชีวิตในชุมชนประโดก มานำเสนอเป็นเรื่องราว รูปแบบการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1. การเชิญชวน 2. กรรมวิธีในการผลิตเส้นขนมจีน 3. การเกี้ยวพาราสีและจบลงด้วยความสนุกสนานสร้างสรรค์ท่ารำจาก ท่าทางเลียนแบบการประกอบอาชีพ    ท่ารำพื้นบ้านโคราช ท่ารำพื้นบ้านอีสาน และท่ารำนาฏศิลป์ไทย ดนตรีใช้วงมโหรีโคราชและโทน เป็นเครื่องดนตรีประกอบ ในด้านการ        แต่งกาย ยึดรูปแบบการแต่งกายพื้นบ้านของโคราช  คัดเลือกนักแสดงชายและหญิงที่มีความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน รูปแบบการแปรแถวมีความหลากหลายเพื่อความสวยงาม สอดคล้องและเหมาะสมกับการใช้อุปกรณ์ประกอบอาชีพ เพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ของขนมจีนบ้านประโดก

Downloads

Download data is not yet available.

References

โชค ภู่ถนนนอก. กำนันตำบลหมื่นไวย. สัมภาษณ์วันที่ 6 มิถุนายน 2561.

ดไนยา สังเกตการณ์. (2558). ลำตักฟ้าตักสิลานคร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นวลรวี กระต่ายทองและคณะ. (2562). ภูมิปัญญาศิลปาชีพขนมจีนโคราช. สถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2544). การศึกษาทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของนักแสดงและผู้กำกับการแสดง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รสสุคนธ์ ขันคํากาศ และคณะ. (2561). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านประโดก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยอาศัยวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2558). ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน.

รุจาภา ประวงษ์. (2562). การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนและอุโบสถวัดหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. สถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย. (2562). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.saomeaunwai.go.th [12 มิถุนายน 2562].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29