นวัตศิลป์โนราสาน: เครื่องประดับนวัตศิลป์ร่วมสมัย สืบวัฒนธรรมสานศิลปะ ประยุกต์อัตลักษณ์มโนราห์

ผู้แต่ง

  • ดาวรรณ หมัดหลี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มิยอง ซอ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

นวัตศิลป์โนราสาน, เครื่องประดับนวัตศิลป์ร่วมสมัย, อัตลักษณ์มโนราห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.ศึกษาองค์ความรู้เรื่องศิลปะการแสดงมโนราห์ มีการรวบรวมองค์ความรู้ศิลปะการแสดงมโนราห์ภาคเอกสารและลงพื้นที่ มีผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มคือ ปราชญ์ชาวบ้านโดยใช้วิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประชากรในพื้นที่และประชากรที่เป็นบุคคลทั่วไปโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก 2. วิเคราะห์อัตลักษณ์ศิลปะการแสดงมโนราห์ร่วมกับหลักการ DRR (2C (MEAMAI)) ได้อัตลักษณ์มโนราห์ที่โดดเด่นเรียงตามลำดับ คือ เครื่องแต่งกาย (ชุดลูกปัด) ท่ารำ เครื่องประดับ และเครื่องดนตรี 3. สังเคราะห์และสร้างสรรค์ต้นแบบเครื่องประดับนวัตศิลป์ร่วมสมัย ได้ผลงานต้นแบบเครื่องประดับนวัตศิลป์โนราสานจากแนวคิดในการสร้างสรรค์ของวัฏจักรมโนราห์ 3 แนวคิด คือ การส่งต่อและสืบสาน การแสดงด้านความบันเทิง และการแสดงด้านประกอบพิธีกรรม อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายที่สะท้อนตามแนวคิดตั้งแต่ศีรษะ มือ แขน คอ บ่า หน้าอก ลำตัว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิจัยแบบบูรณาการ (Integrated research) ผสมผสานแนวคิดและทฤษฎีจากวิทยาการในสาขาปรากฎการณ์วิทยา วิธีการทางปรัชญา หลักการทำกลยุทธ์ทางการตลาด ร่วมกับศาสตร์ด้านศิลปกรรม สร้างหลักการใหม่ในการวิเคราะห์สังเคราะห์ผลงานต้นแบบเครื่องประดับนวัตศิลป์โนราสาน ผลงานแต่ละชุดมีการสะท้อนแนวคิดที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์และถ่ายทอดอัตลักษณ์จากศิลปะการแสดงมโนราห์ในรูปแบบใหม่

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2563). คุณค่าของมโนราห์. "โนรา : ศิลปะการร้องรำ ที่ผูกพันกับชีวิต". สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563 จาก http://book.culture.go.th/nora2020/mobile/index.html?fbclid=IwAR3FQ8-LxaevrDh6neewVGPVjT9UwfAzRX3UVbmB6iop3NSJosVgRsyp2cI#p=207

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2558). นวัตศิลป์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560 จาก https://www.sacict.or.th/th

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2529). "ชาตรี" และ "โนรา", ในสารานุกรมวัฒนธรรม (1804 – 1819)

TNNONLINEWorld. (2564). ยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียน "โนรา". สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564 จาก https://www.tnnthailand.com/news/world/99421/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28