แนวทางการพัฒนาและยกระดับศักยภาพนักออกแบบเครื่องแต่งกาย ในธุรกิจบันเทิงไทย
คำสำคัญ:
นักออกแบบเครื่องแต่งกาย, การยกระดับศักยภาพ, ธุรกิจบันเทิงไทยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาและยกระดับศักยภาพนักออกแบบเครื่องแต่งกายในธุรกิจบันเทิงไทย” ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักออกแบบเครื่องแต่งกายในธุรกิจบันเทิงไทย และเพื่อสร้างรูปแบบแนวทางการพัฒนานักออกแบบเครื่องแต่งกายในธุรกิจบันเทิงไทย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากผู้ทำงานในธุรกิจบันเทิงไทย และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก 2 ชุด โดยชุดแรกกับผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายในธุรกิจบันเทิงไทยที่ประสบความสำเร็จ นักวิชาการ และอีกชุดหนึ่งกับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิงไทยอื่นๆ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักออกแบบเครื่องแต่งกายในธุรกิจบันเทิงไทย มี 5 ด้าน คือ การส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการแข่งขันจากภาครัฐ การยกระดับศักยภาพนักออกแบบให้ทัดเทียมนานาชาติ การพัฒนาทักษะของนักออกแบบรายบุคคล การพัฒนาด้านธุรกิจ และมุมมองทางธุรกิจการออกแบบ และการสร้างแรงบันดาลใจในการแข่งขันทางธุรกิจ พบว่า พัฒนาทักษะให้แก่นักออกแบบเครื่องแต่งกาย ดังนี้ คือ ทักษะในการค้นคว้าข้อมูลในการออกแบบ ทักษะการตีความ การวิเคราะห์ ทักษะทางศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจวิธีการสื่อสารผ่านงานออกแบบ ทักษะในการประยุกต์งานออกแบบที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า นอกจากนั้นพฤติกรรมและเจตคติที่จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จ คือ การมีความคิดสร้างสรรค์ มีความอดทน และความพยายาม มีความใฝ่รู้ตลอดเวลา พัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา รับผิดชอบ และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
พบว่าแนวทางในการพัฒนาจำเป็นต้องการจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อรวบรวมข้อมูลนักออกแบบ ทำมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานรายได้ จัดตลาดนัดนักออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อหาลู่ทางในการส่งเสริมการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ ส่งเสริมนักออกแบบในด้านต่างๆ เช่นการฝึกอบรม การ Up- Skills Re-Skills รวมถึงอาจมีการจัดตั้งกองทุนในการช่วยเหลือและสนับสนุน จัดให้มีแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้เพื่อการค้นคว้าอย่างเป็นรูปธรรม รัฐควรเข้ามามีบทบาทในการจัดการแข่งขัน เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบัลดาลใจให้นักออกแบบ รวมถึงการยกระดับในด้านบุคลิก ทักษะการสื่อสาร และการนำเสนอผลงานโดยต้องอาศัยทักษะความรู้ด้านธุรกิจ ความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และความรู้เรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์
Downloads
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชญานุช เสวกวัฒนา, ณัฐกฤตา หาญณรงค์, ปฐมพร ปานกลิ่น และอิสริยาภรณ์ พงษ์จินดา, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.
ณัฐพงษ์ ธรรมรักษาสิทธิ์.(2557). กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ: กรณีศึกษานักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมืออาชีพเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ณิชกาน พงศ์ติวัฒนากุลและรติมา อัศวรุ่งนิรันดร์ เป็นผู้สัมภาษณ์ ในระบบ Online เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564.
นพดล เตโช เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ปัณฑิตา สมบัติปัน, ศิรประภา วงศ์ภัควัต และกษิดิ์เดช กองแก้ว เป็นผู้สัมภาษณ์ ในระบบ Online เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564.
นิรชรา วรรณาลัย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ อุมาภรณ์ เผือกเชาว์ไวย์, ณิชา ชาญสง่าเวช เป็นผู้สัมภาษณ์ ในระบบ Online เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2549). Competency-Based Approach. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาสถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา.(2552). ศิลปะแขนงที่เจ็ด เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พับลิค บุเคอรี.
ปวเรศ วงศ์อร่าม เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ณัฐวุฒิ ม่วงศรี และวัชรยุทธ เกียรติจรุงพันธ์ สัมภาษณ์โดยโทรศัพท์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564.
พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ.(2544). การศึกษาทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของนักแสดงและผู้กำกับการแสดง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
-----------. (2542). เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. Gen Z Frist Jopper รุ่นใหม่เพื่อเข้าใจความแตกต่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564 จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media.
สุกัญญา มะเรืองประดิษฐ์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ศุภกร ชูขจร, ผริตา สวัสดิ์วงศ์ และอัญชริญา สุรเสน เป็นผู้สัมภาษณ์ ในระบบ Online เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2549). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based Learning (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์จ ากัด (มหาชน ).
----------------------------. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
สุธี เหมือนวาจา, ญาณินท์ พฤกษประมูล, ธิญาดา จิตกรีสร และอรณิชา วิริยะ, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรัญ วานิชกร. (2547). แหล่งข้อมูลสำหรับความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2547 ,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อารี สุทธิพันธุ์.(2538). แนวโน้มของอาชีพนักออกแบบในปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม 2538 ,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Anderson,Babara.(1997) Costume Design. USA : Cengage Learning.
Campbell, A. 1997. Core Competency-Based Strategy. Boston: International Thomson Business Press
Cooper, C. 2000. Effective Competency Modeling and Reporting: a Step-by-Step Guide for Improving Individual and Organizational Performance. New York : AMACOM
Ingam,Rosemary.(2003) The costume designer’s handbook. USA : Heinemann Educational book, Inc.
Landis,Deborah N. (2012) Costume Design. United Kingdom: The Ilex Press Limited.
Monaco, J. (2001). How to read a film : Movies, media, multimedia. New York : Oxford University Press.
Mclagan, P. 1997, May. Competencies: The next generation. Training and Development, 51(5) 40-47
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ