แนวคิดจากการสร้างสรรค์ละครรำเรื่องกาตยานี
คำสำคัญ:
แนวคิด, การสร้างสรรค์, ละครรำเรื่องกาตยานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง แนวคิดจากการสร้างสรรค์ละครรำเรื่องกาตยานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดที่ได้จากการสร้างสรรค์ละครรำเรื่องกาตยานี : นวัตกรรมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์จากภารตนาฏยัมและนาฏศิลป์ไทย โดยการศึกษาเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และการสร้างสรรค์ละครรำเรื่องกาตยานี
ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดที่ได้จากการสร้างสรรค์ละครรำเรื่องดังกล่าวข้างต้นมี 3 แนวคิด กล่าวคือ (1) การแปรรูปวรรณกรรม ด้วยการนำภาพยนตร์อินเดียเรื่องทุรคาและตำนานเทวสตรีในศาสนาฮินดูมาแปรรูปวรรณกรรมให้อยู่ในรูปแบบละครรำ โดยยังคงจุดมุ่งหมายของโครงเรื่องและแก่นเรื่องไว้ดังเดิม แต่ได้มีการตัด เพิ่ม เชื่อมต่อ และมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาในบางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดง (2) การผสมผสานหลายนาฏยจารีต มาผสมผสานกัน ได้แก่ โครงสร้างกระบวนท่ารำภาพลายเส้นในตำราท่ารำ และลักษณะการใช้ภาษามือที่เรียกว่า มุทรา หรือ หัตมุทรา ตามหลักการแสดงนาฏยศาสตร์จนเกิดเป็นกระบวนท่ารำใหม่ และ (3) การขัดขืนอำนาจปิตาธิปไตยด้วยความเชื่อ พบว่า แนวคิดการขัดขืนอำนาจปิตาธิปไตยของสตรีชาวอินเดียโดยใช้มิติด้านความเชื่อความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านลัทธิศักติ โดยนำความเชื่อเหล่านี้สอดแทรกไว้ในภาพยนตร์อินเดียและคัมภีร์ปุราณะ ที่แสดงถึงพลังอำนาจของเทวสตรีอยู่ในเรื่องราวต่าง ๆ เป็นการต่อสู้ของสตรีเพื่อขัดขืนอำนาจปิตาธิปไตย โดยอ้างอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยากต่อการพิสูจน์ ลัทธิศักติจึงเปรียบเสมือนเป็นการต่อสู้หรือการขัดขืนของสตรี โดยอาศัยพลัง อำนาจของเทวสตรี เพื่อให้สตรีชาวอินเดียได้รับสิ่งที่ตนปรารถนาคือ สิทธิสตรีในสังคมอินเดีย
Downloads
References
ใกล้รุ่ง ภูอ่อนโสม และรัญชนีย์ ศรีสมาน. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). อำนาจของผู้หญิง : การท้าทายความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับแนวคิดปิตาธิปไตยในนวนิยายสมัยใหม่. วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(1): 43-61.
ไทยรัฐออนไลน์. (2552). ลัทธิศักติ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://www.thairath.co.th/content/444.
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ และคณะ. (2564, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ที่สื่อให้เห็นถึงคุณค่าของปีกแมลงทับและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ โดยผ่านมิติการแสดง. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 22(2): 125-139.
ประเวศ อินทองปาน. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). สถานภาพและบทบาทของสตรีเพศตามแนวจริยศาสตร์ทางศาสนา. วารสารธรรมธารา. 4(2): 61-99.
ผาสุข อินทราวุธ. (2522). รูปเคารพในศาสนาฮินดู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พเยาว์ นาคเวก. (2526). เทพีทุรคาในเอเชียอาคเนย์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
วิภาวรรณ สุมทรักษ์ และคณะ. (2563, กันยายน-ตุลาคม). การศึกษาการแปรรูปวรรณกรรมจากนวนิยาย สู่บทละครโทรทัศน์เรื่อง เมียน้อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39(5): 33-43.
วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2557, มกราคม-มิถุนายน). กระบวนการสร้างสรรค์บทการแสดงประกอบแสง เสียง เรื่องอุรังคธาตุปกรณัม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1): 130-155.
สุรศักดิ์ ทอง. (2553). สยามเทวะ. กรุงเทพฯ: มติชน.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสนาะ เจริญผล. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.
Ajanthus. (ม.ป.ป.). ภาพลายเส้นตำรารำของไทย. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2564, จาก https://sites.google.com/site/ajanthus/phaph-lay-sen-tara-ra-thiy.
Kathak Club. (2020). Hasta Mudra. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.kathakclub.com/hasta-mudra.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ