รูปแบบการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การดำรงอยู่, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, อัมพวาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทของปรากฏการณ์และมูลเหตุที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ 2) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ภายในชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยมของพาร์สันเป็นหลักในการวิเคราะห์ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างจะคัดเลือกโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) ด้วยวิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และแบบสโนว์บอล (Snowball) ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หัวหน้ากลุ่ม และประชาชนที่อาศัยหรือประกอบอาชีพหรือมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในพื้นที่ตลาดน้ำอัมพวา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาประกอบการอธิบาย
ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของปรากฏการณ์และมูลเหตุที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามประกอบด้วย 4 ปรากฏการณ์ ได้แก่ 1.1) ช่วงปี 2513-2516 ที่มีการสร้างถนนธนบุรี-ปากท่อ 1.2) ช่วงปี 2523-2526 ที่มีการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี 1.3) ช่วงปี 2545-2548 มีการเข้าร่วมโครงการตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำยามเย็น และ 1.4) ช่วงปี 2554-ปัจจุบัน ที่มีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูมะพร้าวครบวงจร ทั้งนี้ปัจจัยภายในของปรากฏการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงคือความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามสังคม อันส่งผลไปยังรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีความแปลกใหม่มากขึ้น 2) รูปแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ภายในชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม คือ การวางแผนให้เหมาะสมกับบริบทและกำหนดเป้าหมายเพื่อใช้ในการดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาท้องถิ่นจากองค์ความรู้เดิมบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ใหม่ และการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาที่พัฒนาใหม่หรือผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งนี้จะมีการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบทอด จากนั้นมีการประเมินผลและแก้ไขจุดบกพร่องเพื่อดำเนินการซ้ำอีกครั้ง
Downloads
References
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและหอจดหมายเหตุ. (2542). ประวัติท้องถิ่น :ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา.
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. (2557). อัมพวาศึกษา. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกการพิมพ์
ดนยา เศวตวาทิน. (2560, 13 มิถุนายน 2560). เรื่องเล่าภาคี ความหวัง หลังสวนมะพร้าว. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. 2560:สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/37141
ธัชพร ฤกษ์ฉาย ลุยง วีระนาวิน และธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าและการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาการทำมีด กรณีศึกษาหมู่บ้านอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 8 (ฉบับที่ 2): 236-237
นิตย์ระดี วงศ์สวัสดิ์ (2553). การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการตัดถนนนครอินทร์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2554). ทฤษฎีการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ฟิสิกซ์เซ็นเตอร์.
เศรษฐ์สิริ นิรันดร (2562). การดำรงอยู่ของคณะละครเวทีขนาดเล็กในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัดชา โอทาศรี. (2554). การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย : กรณีศึกษาชาวนาจังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
ธนัญชัย สังข์พูล, ผู้ดูแลการทำน้ำตาลมะพร้าวของมูลนิธิชัยพัฒนานุรักษ์. สัมภาษณ์วันที่ 18 พฤษภาคม 2562.
วิบูลย์รัตน์ กันภัย, ผู้จัดการศูนย์ท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่โครงการอัมพวาพัฒนานุรักษ์. สัมภาษณ์วันที่ 18 พฤษภาคม 2562
ถิรดา เอกแก้วนำชัย, ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านโฮมสเตย์. สัมภาษณ์วันที่ 26 พฤษภาคม 2562
จอมขวัญ วงศ์ขยาย, ผู้ดูแลการทำน้ำตาลมะพร้าวของมูลนิธิชัยพัฒนานุรักษ์. สัมภาษณ์วันที่ 18 พฤษภาคม 2562
พัชโรดม อุนสุวรรณ, อดีตนายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา. สัมภาษณ์วันที่ 23 มิถุนายน 2563
ณภัทร จาตุรัส, เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูมะพร้าวครบวงจร. สัมภาษณ์วันที่ 18 มีนาคม 2564
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ