การสร้างภาพตายตัวจากการโหยหาอดีต และการผลิตซ้ำด้วยการเชื่อมโยงตัวบทของการแต่งหน้าของนักร้องในมิวสิควีดีโอเพลง “ได้แค่นี้”

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ คำนนท์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การหวนคืนสู่อดีต, จินตนาการ, การแต่งหน้า, มิวสิควีดิโอ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการสร้างภาพตายตัว (stereotype) จากการโหยหาอดีต (nostalgia) และลักษณะการผลิตซ้ำ (reproduction) ด้วยการเชื่อมโยงตัวบท (intertaxtuality) ของการแต่งหน้าของนักร้องในมิวสิควีดีโอเพลง “ได้แค่นี้ ผลการศึกษาพบว่า การแต่งหน้าของนักร้องในมิวสิควีดีโอเพลง “ได้แค่นี้” เป็นการสร้างภาพตายตัวของ “พินอัพ เกิร์ล” โดยใช้ภาพนิมิต (simulacrum) ผ่านจินตนาการและความจริง จนกลายเป็นความจริงเชิงสมมุติ (hyperreality) ที่เป็นความจริงในรูปแบบของมันเอง ซึ่งทำให้เราได้กลับไปสัมผัสถึงความเซ็กซี่ เย้ายวน และรัญจวนใจได้อีกครั้ง ทั้งนี้ยังพบว่า การแต่งหน้าของนักร้องได้ผลิตซ้ำภาพของ “พินอัพ เกิร์ล” ในลักษณะสำเนาตัวบทอื่น ๆ (plagiarism) โดยการแต่งหน้าได้ทำให้การสื่อสารเกิดลักษณะที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงรูปของสื่อและตัวสาร ในฐานะที่การแต่งหน้าเป็นตัวสาร (message) ได้เกิดลักษณะของรูปแบบอะมีบา (amoeba pattern) คือ ตัวบทใหม่ได้ถูกดัดแปลงรูปแบบ แต่ยังคงเนื้อหาเดิมของตัวบทดั้งเดิมเอาไว้ ทั้งนี้ในฐานะที่การแต่งหน้าเป็นตัวสื่อ (medium) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างน้อย (gradual metamorphosis) โดยการแต่งหน้ามีลักษณะคล้ายคลึงกับลักษณะการแต่งหน้าของ “พินอัพ เกิร์ล”

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โปรดักส์ จำกัด.

_____________. (2552). สัมพันธบท (Intertexuality): เหล้าเก่าในขวดใหม่ในการสื่อสารศึกษา. วารสารนิเทศาสตร์, 27(2), 1-29.

_____________. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์.

กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ และวาสิฏฐี ศรีติรัตน์. (2558). การศึกษารูปแบบ เนื้อหา และกลยุทธ์ในการ สื่อสารการตลาดในสื่อสังคมของค่ายเพลงไทย. บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2538). หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

เจริญพงศ์ ศรีสกุล. (2550). การออกแบบเนื้อหาส่วนควบและส่วนขยายในสื่อดีวีดีภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). แนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม. กรุงเทพฯ : สมมติ.

ณทิตา ทรัพย์สินวิวัฒน์. (2560). อุตสาหกรรมเพลงไทยในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 1(9), 157-167.

ปรางทิพย์ แถลง. (2564). ได้แค่นี้ - ปราง ปรางทิพย์ (Official MV). ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=2aMYtGGuZ_4.

ปิยะศักดิ์ ชมจันทร์. (2549). ภาพตายตัวของตัวละครต่าง ๆ ในภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนา กิตติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฎการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

พรรณาวดี รชตเฉลิมโรจน์. (2556). อิทธิพลแห่งวัฒนธรรมประชานิยมที่มีต่อโลกจินตนาการของเพศหญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ (จิตกรรม) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2562). ส่วนผสมของศิลปะเรโทรฟิวเจอริสติกและงานแฟชั่นล้ำอนาคตของ ฮาจิเมะ โซรายามะ. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.gqthailand.com/style/article/hajime-sorayama-and-his-sexy-robot.

ยุทธนา สุวรรณรัตน์. (2559). การข้ามผ่านทางการสื่อสารของบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

ศิริชัย ศิริกายะ. (2562). การสื่อสารกับอเสถียรตรรกะ. ใน วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(2), 8-12.

___________. (2558). แบบจำลองการสื่อสารในยุคดิจิทัล. ใน วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 13(15), 8-13.

ศรัณรักษ์ โรจนวิทย์สกุล. (2561). ความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำกับภาพลักษณ์ผู้บริโภคของผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุลีมาน (นฤมล), ว. (2537). นางงามตู้กระจก : การศึกษากระบวนการกลายเป็นหมอนวดไทย. กรุงเทพฯ: ศยาม.

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. (2556). ทุกความสวยมีที่มา ทุกความงามมีที่ไป. ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2563, จาก http://knowledge- center.museumsiam.org/uploads/siam/book_copy/2016/07/DB000592_es8N4pic01Ai/file/es8N4pic01Ai.pdf.

สมสุข หินวิมาน และกำจร หลุยยะพงศ์. (2546). ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร (หน่วยที่ 8-15). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2563). สารกับการสื่อความหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์ จำกัด.

อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์. (2562). สื่อไทยกับการเคารพและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ของกลุ่มผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อวิรุทธ์ ศิริโสภณา. (2560). การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อวยชัย สังสนา. (2544). วาทกรรมการสื่อความหมายของนิวัติ กองเพียร นู้ดคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์รายวันและนิตยสารรายสัปดาห์ "มติชน". วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baudrillard, J. (1981). Simulacra and Simulation. (Sheila Faria Glaser, Trans.). Michigan: Michigan UP.

Burton, G. (2002). More than Meets the Eye: An Introduction to Media Studies. 3rd Edition. London: Arnold.

Buszek, M. E. (2006). Pin-up grrrls: feminism, sexuality, popular culture. Durham: Duke University Press.

Fiske, J. (1990). Introduction to Communication Studies. London and New York: Routledge.

Hannerz, U. (1997) Flows, boundaries and hybrids: Keywords in transnational anthropology. Mana (Rio de Janeiro), 3(1), 7–39.

Kass. A (2011). The 20th Century of American Fashion:1900-2000. Western Connecticut State University: Connecticut.

Lippmann, W. (1992). “Stereotypes” reprinted in Janowitz, M. & Hirsch, P.M. (1998). Reader In Public Opinion and Mass Communication. New York: The Free Press.

McLuhan, M. (1964). Understanding media: The extensions of man. New York: McGraw-Hill.

Meyerowitz, J. (1996). "Women, Cheesecake, and Borderline Material: Responses to Girlie Pictures in the Mid-Twentieth-Century U.S”. Journal of Women's History, 8(3), 9-35.

Wong, H. (2007). A Riveting "Rosie": J. Howard Miller's We Can Do It! Poster and Twentieth Century American Visual Culture. (M.A.). University of Maryland, College Park.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29