ภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายเครื่องจักสานที่ส่งผลด้านคุณค่าและความหมายต่อการอนุรักษ์ของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านยะโม่คี อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • มนศักดิ์ ทหิงษ์ วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิทธิกร ต๊ะกู วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาการออกแบบลวดลาย, เครื่องจักสาน, คุณค่า, ความหมายการอนุรักษ์, ชุมชนกะเหรี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลวดลายเครื่องจักสานของชุมชนชาวกะเหรี่ยงและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์กับคุณค่าในการดำรงชีวิตของชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านยะโม่คี อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ถอดความรู้จากปราชญ์ชุมชนใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญของชุมชน จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้อาศัยทั่วไปและเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักสาน ผลการศึกษาพบว่ามีการจักสานลวดลายเครื่องจักสานอยู่ จำนวน 12 แบบ คือ กลุ่มลายรุ่นเก่า ลายชอคีดา ลายเกอะป่อเดอ ลายเกอะป่อจือ ลายก้อแล่แบว ลายเทเฆ ลายต้าแดว้สะ ลายต้าโบะเซอ ลายต้าโกล่เตอะกี่ ลายประยุกต์เกิดใหม่ คือ ลายเซ่ตร่า ลายแหม่โดะ ลายพอแย่โผะ และลายต้าลู่ ด้านความสัมพันธ์กับการสร้างคุณค่างานจักสานสอดคล้องกับวิถีชีวิตและคุณค่าของชุมชนด้วยการให้คุณค่าการเลือกพืชตระกูลไผ่ ต้นหวาย ให้คุณค่าต่อการประดิษฐ์เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน มีคุณค่าต่อการสร้างกิจกรรมชีวิตการประกอบอาชีพการงาน และเครื่องจักสานเป็นองค์ประกอบสำคัญอยู่ในกลุ่มเครื่องมือการเกษตร 5 ชนิด เครื่องครัวเรือน 6 ชนิด เครื่องมือจับสัตว์ 4 ชนิด มีความสัมพันธ์กับความต้องการอนุรักษ์จากคนรุ่นใหม่เพื่อดำรงคติด้านความเชื่อชุมชนและรักษาพื้นที่เพาะปลูก

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงศักดิ์ ปะปะ. (2554). ต่า เท ต่า ก๊ะ องค์ความรู้ชุดเครื่องจักสานของชาวกะเหรี่ยง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์วนิดา.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2546). ศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ : ศึกษากรณีกลุ่มชนกระเหรี่ยงในประเทศไทยและประเทศพม่า. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา.(2540).ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชุมชนและชนชาติไท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล่านวย ธำรงศีลธรรม.16 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากตาก สัมภาษณ์วันที่ 5 มีนาคม 2559

บาเย้ที ตุลยาภิบาล. หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. สัมภาษณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559

บุญส่ง เรศสันเทียะ. (2553). ปลาตะเพียน:ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดเสรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปะเจ กะเจ.33 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สัมภาษณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559

แปล้คือ ธำรงศีลธรรม.10 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากสัมภาษณ์วันที่ 25 มีนาคม 2559

พาก้อแล่. 34 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สัมภาษณ์วันที่ 25 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พัลลภ ศรีตระกูลคีรี.21 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สัมภาษณ์วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559

ล่านวย ธำรงศีลธรรม.16 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากตาก สัมภาษณ์วันที่ 5 มีนาคม 2559

วินัย วิริยะปานนท์. (2527). เครื่องจักสาน.กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.

ศาสตรา เหล่าอรรคะ. (2560). การศึกษาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการใช้เครือซูดวัสดุธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรูปแบบของเครื่องจักสาน. โครงการวิจัยกระทรวงวัฒนธรรม. กรุงเทพ. กระทรวงวัฒนธรรม.สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564. จาก research.culture.go.th/index.php

สายชล ดลจิตรคณาสิน.39 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สัมภาษณ์วันที่ 5 มีนาคม 2559

สุเก่ พงศ์จรัสแสง. 55 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. สัมภาษณ์วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559

สี ดลจิตรคณาสิน.28 หมู่ที่ 5 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สัมภาษณ์วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา.

อะเชอ คงประดับความดี.22 หมู่ที่ 5ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สัมภาษณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29