กระบวนการฟื้นฟูศิลปะการแสดงพื้นบ้าน

ผู้แต่ง

  • กัญญารัตน์ พงศ์กัมปนาท หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

กระบวนการฟื้นฟู, ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน, นาฏศิลป์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการฟื้นฟูศิลปะการแสดงพื้นบ้านมีเนื้อหาประกอบด้วย ภาพรวมสภาวการณ์ของการแสดงพื้นบ้านในปัจจุบัน ทิศทางของการแสดงพื้นบ้านในโลกยุคใหม่ นำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน รวมถึงเสนอแนะแนวทางด้านการอนุรักษ์สืบทอด การประยุกต์ออกแบบสร้างสรรค์การแสดง และแนวคิดทฤษฎีที่นิยมใช้ในกระบวนการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยทำการศึกษารวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยทั้งหมด 8 เล่ม ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านการแสดงพื้นบ้านที่กำลังจะเลือนหายหรือสูญหายไป

 ผลจากการศึกษางานวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อศิลปะการแสดงพื้นบ้านมีดังนี้ 1.) การมองเห็นคุณค่าของคนในชุมชน 2.) การตระหนักรู้ของคนในชุมชน 3.) การจัดการศึกษาให้กับคนในชุมชน ซึ่งกระบวนการฟื้นฟูมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้มรดกทางวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นไม่สูญหาย แนวทางการแก้ไขปัญหาควรมีการสนับสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัย ภูมิปัญญาการแสดงพื้นบ้าน โดยนำผลจากการทดลองสรุปเป็นองค์ความรู้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบกับใช้แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียด ลุ่มลึก ฝังตัว จนเกิดความเข้าใจในศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่างถ่องแท้ แล้วนำผลการวิจัยมาใช้เพื่อปรับปรุงเสริมสร้างภูมิปัญญาศิลปะการแสดง ให้มีการยอมรับหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน กระบวนการฟื้นฟูจะมีประสิทธิภาพนั้น ควรมีการวางแนวทางการอนุรักษ์และสืบทอดไว้อย่างเข้มแข็ง รวมถึงการประยุกต์และออกแบบสร้างสรรค์การแสดงพื้นบ้านเพื่อเพิ่มคุณค่าใหม่ให้เหมาะกับยุคสมัย จึงจะทำให้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธันยพงศ์ สารรัตน์. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). การอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาการแสดงรำตร๊ด. ใน วารสารศิลปศาสตร์. 15(2): 339-361.

ปิยวดี มากพา. (2555,กรกฎาคม-ธันวาคม). การสังเคราะห์งานวิจัยทางนาฏศิลป์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 14(1): 112-117.

ปิยะนารถ ริมทอง. (2556). การจัดการอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการจัดการเส้นทางเรียนรู้และท่องเชิงวัฒนธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัทรวดี มีชูธน.(2562). ทิศทางของการแสดงพื้นบ้านในโลกยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563. จาก, http://article.culture.go.th/index.php/gallery/3-column-layout-7/149-2019-07-04-04-44-28

สายัณต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือ โบราณคดีชุมชน

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2543). พลวัตของชุมชนในการจัดการทรัพยากร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย

อานันท์ นาคคง. (2562). การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563. จาก, https://www.thaipost.net/main/detail/32815

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2546). สื่อสันนิวาส. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นาครมีเดีย

Anthony F. C. Wallace. (1956). Revitalization Movements. American Anthropologist. 58(2): 264-281.

Brundage, Mackeracher. (1989). Adult Learning Principles and Their Application to Program Planning.

Ministry of Education : 126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29