ประสิทธิผลการสื่อความหมายของยักษ์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
คำสำคัญ:
การสื่อความหมาย, ยักษ์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ผู้โดยสารในท่าอากาศยานบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเข้าใจของการสื่อความหมายของยักษ์ในท่าอากาศยาน มีการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Validity) ด้วยการนำเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน โดยใช้อาคารผู้โดยสารขาออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นพื้นที่ศึกษา ทั้งนี้ศิลปะไทยที่ศึกษาในงานชิ้นนี้ คือ ยักษ์ที่จัดแสดงในบริเวณอาคารผู้โดยสารขาออก และกลุ่มตัวอย่างคือผู้โดยสารชาวต่างประเทศที่ได้เดินทางเข้าออกโดยใช้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ งานวิจัยนี้ใช้วิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ตรวจสอบความเที่ยงของเนื้อหา (Reliability) ด้วยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ชุด แล้วนำไปทำการวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นด้วยโปรแกรมทางสถิติ จากนั้นทำการเก็บแบบสอบถามจริงซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน แบ่งตามเป็นนักท่องเที่ยวตามทวีป ทั้งหมด 7 ทวีป คือ ทวีปอเมริกา ทวีปโอชีเนีย ทวีปแอฟริกาใต้ ทวีปเอเชีย ทวีปเอเชียใต้ ทวีปเอเชียกลาง และทวีปยุโรป โดยบทความชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจที่ถูกต้องในการสื่อความหมายของยักษ์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยแสดงผลรวมและผลจำแนกตามทวีป สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60 อายุระหว่าง 31-60 ปี ร้อยละ 30 มีสถานภาพสมรส ร้อยลละ 48.75 ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ร้อยละ 27 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 47 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 59 ประกอบอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญ ร้อยละ 35.5 ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยและเคยใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2 ครั้ง ทั้งนี้โดยรวมนักท่องเที่ยวที่มาจากทวีปที่มีความเข้าใจการสื่อความหมาย “ยักษ์” มากที่สุดคือ 1) ทวีปเอเชียใต้ 2) ทวีปเอเชีย และ 3) ทวีปเอเชียกลาง และทวีปที่มีความเข้าใจได้น้อยที่สุด คือ 1) ทวีปยุโรป 2) ทวีปอเมริกา และ3) ทวีปแอฟริกาใต้ ตามลำดับ
Downloads
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานสถิติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรมการท่องเที่ยว. (2558). การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม:แนวทางการจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐกมล ถุงสุวรรณ. (2560). การใช้สื่อดิจิทัลคอนเทนต์กับการส่งเสริมการประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการท่องเที่ยว. ใน วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 5(2), 189-200.
นิทัศน์ วงศ์ธนาวดี. (2558). การสื่อความหมายทางวัฒนธรรมภายใต้โครงการจากงานวิจัยสู่อุทยานการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานวัฒนธรรมวิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2553). ศักยภาพการสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวชุมชน: ชุมชนบ้านร่องไฮ จังหวัดพะเยา. Naresuan University Journal, 18(2), 82-90.
ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ และฟ้า วิไลขำ. (2561). พิพิธภัณฑ์: แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. ใน วารสารห้องสมุด. 62(1), 43-67.
เพชรดา ฐิติยาภรณ์. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจบุคคลให้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ณ พุทธมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วิไลวรรณ อยู่ทองจุ้ย. (2554). การจัดการคลังโบราณวัตถทุางโบราณคดี พิพิธภัณฑก์ารเรียนรู้แห่งชาติ กรุงเทพมหานคร. ใน วารสารดำรงวิชาการ. 10(1), 202-223.
วรเชษฐ์ คงเสน. (2562). การจัดการระบบการให้บริการผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในภาวะแข่งขันกับผลสัมฤทธิ์. ใน วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(2), 324-341.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2554). นามานุกรมรามเกียรติ์ ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร : สถาพรบุ๊คส์.
สมเกียติ ศรีเพ็ชร. (2562). การสื่อความหมายของสติกเกอร์ไลน์ที่ประกอบสร้างจากอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล. Siam Communication Review, 18(24), 92-102.
อัจฉริยา วสุนันต์. (2560). รามเกียรติ์กับการท่องเที่ยวไทย การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมวรรณคดีไทยเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ. ใน วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 12(23), 37-49.
Ablett, P.G., & Dyer, P.K. (2009). Heritage and hermeneutics: Towards a broader interpretation of interpretation. Current Issues in Tourism, 12(3), 209–233.
Al-Fedaghi, S. (2012). A conceptual foundation for the Shannon-Weaver model of communication. International Journal of Soft Computing, 7(1), 12-19.
Ballantyne, R., & Packer, J. (2011). Using tourism free-choice learning experiences to promote environmentally sustainable behaviour: The role of post-visit ‘action resources’. Environmental Education Research, 17(2), 201–215.
BCCNews. (2018). 10 อันดับสนามบินที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2018. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/international-43496807.
Cohen, E.H. (2011). Educational dark tourism at an in populo site. Annals of Tourism Research, 38(1), 193–209.
Interpretation Australia. (2011). What is interpretation? Retrieved 12 October 2011, http://www.interpretationaustralia.asn.au/about-ia/what-is-interpretation
Manthiou, A., Kang, J., Chiang, L., & Tang, L. (2016). Investigating the effects of memorable experiences: An extended model of script theory. Journal of Travel & Tourism Marketing, 33(3), 362-379.
Moscardo, G., & Ballantyne, R. (2008). Interpretation and tourist attraction. In A. Fyall, A. Leask, & S. Wanhill (Eds.), Managing tourist attractions. London: Elsevier.
Yamane, T. (1973).Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.
Tilden, F. (2009). Interpreting our heritage. United States: University of North Carolina Press.
Tsang, N.K., Yeung, S., & Cheung, C. (2011). A critical investigation of the use and effectiveness of interpretive services. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 16(2), 123–137.
Weaver, W. (1949). The mathematics of communication. Scientific American, 181(1), 11-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ