การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา การออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงงานแสง สี เสียงปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ประจำปี 2560

ผู้แต่ง

  • กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ทุนทางวัฒนธรรม, การออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง, ปราสาทสด๊กก๊อกธม

บทคัดย่อ

             การศึกษาการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยว : กรณีศึกษาการออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงงานแสง สี เสียงปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับการแสดงโดยการใช้หลักการของทุนทางวัฒนธรรมเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบ
             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในรูปแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Research) ที่บูรณาการร่วมกันระหว่างศาสตร์ทางด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงกับการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อใช้ในงานแสง สี เสียงปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นกิจกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญงานหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว
            ผลของการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วนดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้วสู่การออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายในการแสดงละครแสง สี เสียง “คืนฝันสันติโลกา บูชามาฆะปุรณมี”ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว อันประกอบไปด้วยกระบวรการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรม 3 ด้าน ได้แก่ ทุนทางประวัติศาสตร์ ทุนทางประดิษฐกรรม และทุนบุคคล และส่วนที่ 2 ผลงานการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงสำหรับงานแสง สี เสียง ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ด้วยการออกแบบให้มีความสมพันธ์กับตัวละครในยุคสมัยและบทบาทหน้าที่ของตัวละครเป็นหลัก จำนวน 28 ชุด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมจริงตามยุคสมัย (21ชุด) และ 2. กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากจินตนาการ (7ชุด)

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมศิลปากร. (2562). ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562. จาก. http://www.finearts.go.th/promotion/?view=featured

กรองทิพย์ ชัยชาญ และคณะ. (2553). โครงการวิจัยกลยุทธ์ในการจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบน

อารยธรรมลุ่มน้ำจังหวัดนครราชสีมาโดยมีกระบวนการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

บุษกร ถาวรประสิทธิ์ และคณะ. (2553). โครงการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณลุ่มแม่น้ำสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

รุ่งมณี เมฆโสภณ. (2552) ถกแขมร์ แลเขมร.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2551). ปราสาทขอมในดินแดนไทย :ความเป็นมาและข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธุ์. (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)

สุเมธ แย้มนุ่น. (2553). อนุสารอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29