การเปลี่ยนแปลงทางด้านมรดกวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเวียดนามในยุคโลกาภิวัตน์ กรณีศึกษาวัดเจริญบุญ (วัดญวน) อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • วราวุฒิ คำพานุช มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลง, มรดกทางวัฒนธรรม, โลกาภิวัฒน์, วัดเจริญบุญ, วัดญวน, สะแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอเผยแพร่ประวัติความเป็นมาการย้ายถิ่นฐาน การตั้งถิ่นฐาน ความสัมพันธ์ทางสังคมของชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดสระแก้ว 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ของวัดเจริญบุญ (วัดญวน) ในจังหวัดสระแก้ว และ 3) นำเสนอข้อค้นพบการสูญหายมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดสระแก้ว โดยผลการวิจัยพบว่า วัดเจริญบุญ (วัดญวน) มีฐานะเป็นที่พักสงฆ์ ยังไม่ได้รับการจัดตั้งให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งพื้นที่ไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในที่ดินเนื่องจากเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย และปัจจุบันไม่มีพระภิกษุสงฆ์อนัมนิกายจำพรรษาอยู่ ได้กลายเป็นพระภิกษุสงฆ์เถรวาทจำพรรษาอยู่แทน กระแสโลกาภิวัตน์ได้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชน ย่อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างวัดกับชุมชน จึงทำให้วัดมีบทบาทลดน้อยลงไป รวมไปถึงค่านิยมของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมประเพณีน้อยลง เช่น การใช้ภาษาเวียดนาม การรักษาประเพณีที่เคยปฏิบัติมา เป็นต้น และการเรียนการสอนภาษาเวียดนามไม่ได้เป็นที่นิยมในท้องถิ่น ฉะนั้นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาวเวียดนามในจังหวัดสระแก้ว ต้องอาศัยพลังขับเคลื่อนที่เข้มแข็งของคนในชุมชน คณะสงฆ์ เจ้าหน้าที่ปกครอง เยาวชนคนรุ่นใหม่ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาในการบริหารจัดการในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อรักษา อัตลักษณ์ของชุมชนไว้ให้คงอยู่ต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การฟื้นฟู อนุรักษ์ และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเวียดนามไม่ให้สูญหายไปจากสังคมไทยและจังหวัดสระแก้ว

Author Biography

วราวุฒิ คำพานุช, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว

ตำแหน่ง อาจารย์ (พัฒนาท้องถิ่น)

ลักษณะงาน งานพันธกิจสัมพันธ์ งานพัฒนาท้องถิ่น และงานสอนวิชาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

สังกัด มหาิวทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว

References

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. (2545). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสระแก้ว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

จำรูญ พัฒนศร. (2515). ประวัติเมืองอรัญ (ตอนที่ 1). อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนายตัน จำปาเทศ ณ เมรุวัดชนะชัยศรี อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี. พระนคร. โรงพิมพ์ประเสริฐศิริ.

ณัฐฌา กำจรวัฒนสิริ. (2553). ชาวเวียดนามอพยพ บริเวณชุมชนมิตรสัมพันธ์ ถนนมิตรสัมพันธ์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐภัทร วรรณลี. (2559). รัฐไทยกับการใช้เครื่องมือสื่อเพื่อจัดการกับนโยบายต่อชาวเวียดนามอพยพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญร่วม เทียมจันทร์ และ ศรัญญา วิชชาธรรม. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท อินส์พัล จำกัด

ปรีชา จินนิพันธ์ หรือ ยิน เล. ประธานคณะกรรมการวัดเจริญบุญ (วัดญวน) และประธานชมรมชาวเวียตนาม อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. สัมภาษณ์วันที่ 12 เมษายน 2563.

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลอรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2493. (2493, 3 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. เล่ม 67 ตอนที่ 54 ก. หน้า 929 - 932.

พิศิษฐ์ วณิชธนะพัฒน์ หรือ อัน โบ๋. ประธานกรรมการชุมชนมิตรสัมพันธ์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. สัมภาษณ์วันที่ 15 เมษายน 2563.

ภากร ฉัตรเจริญสุข. (2558). คุณค่าและการเปลี่ยนแปลงของวัดจีน ในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย กรณีศึกษา : วัดจีนในกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2560). พุทธศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ศิริกมล สายสร้อย. (2551). หนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชา กลุ่มชาติพันธุ์ในอรัญประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่มที่ 5 เรื่อง “เวียตนามในอรัญประเทศ”. สระแก้ว: โรงเรียนอรัญประเทศ

สาธิต พนารี. (2557). กระบวนทัศน์ใหม่การบริหารจัดการวัดในยุคโลกาภิวัฒน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สารานุุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 31. (2550). วัดญวนในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุุงเทพฯ: ด่านสุุทธาการพิมพ์

ArnoldPlaton. (2012). กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศกัมพูชา. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศกัมพูชา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29