วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน
คำสำคัญ:
ชาติพันธุ์บาบ๋า, ย่อหยา, บาจูปันจัง, เครื่องแต่งกายบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาวไทยเชื้อสายจีนของกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์ และสังเกต นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลวิจัยพบว่า ชาติพันธุ์บาบ๋า คือกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีเชื้อสายผสมระหว่างเชื้อชาติจีนและเชื้อชาติไทยพื้นถิ่นหรือเชื้อชาติมลายู ปรากฏพบในรัฐปีนัง มะละกา ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์และจังหวัดฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ได้แก่ ตรัง สตูล กระบี่ ระนอง พังงาและภูเก็ต และการวิจัยพบอีกว่า การแต่งกายของสตรีบาบ๋ามี 5 รูปแบบ 1) ชุดเสื้อคอตั้งมือจีบ สวมใส่เป็นชุดลำลอง 2) ชุดครุยยาว สวมใส่ในพิธีวิวาห์ 3) ชุดครุยท่อน (ปั่วตึ่งเต้) สวมใส่ในโอกาสพิเศษที่ไม่เป็นทางการ 4) ชุดย่าหยา สวมใส่ในงานบุญประเพณี และ 5) ชุดเสื้อลูกไม้ สวมใส่สำหรับสตรีสูงวัยในทุกโอกาส ในส่วนสีเสื้อผ้าจะนิยมสีแดง ชมพูอ่อนหรือสีสันสดใสในงานมงคล และนิยมสีดำ น้ำตาลเข้ม สีขาวในงานอวมงคล นอกจากนี้สตรีชาวบาบ๋ายังคงนิยมนุ่งโสร่ง ผ้าปาเต๊ะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างตัวเสื้อแบบสตรีจีนและการนุ่งโสร่งปาเต๊ะแบบสตรีมลายู โดยมีลวดลายผีเสื้อ ลายดอกไม้ ลายพฤกษา ลายหงส์ ลายนกยูง ลายเลขาคณิต และนิยมเกล้าผมมวยสูง (ชักอิโบย) ตลอดจนการสวมเครื่องประดับที่บ่งบอกถึงฐานะทางสังคมและความเชื่อในทุกโอกาสตามวัฒนธรรมประเพณี
Downloads
References
กัญญรัตน์ ตันสกุล, ชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในบริเวณย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า. สัมภาษณ์วันที่ 2 กรกฎาคม 2562.
ขนัด หวังเกียรติ, ชาวไทยเชื้อสานจีนและผู้มีความเชี่ยวชาญด้านทรงเจ้าสาวจีนบาบ๋าแบบโบราณ. สัมภาษณ์วันที่ 20 กันยายน 2562.
งามพิศ สัตย์สงวน. (2544). หลักมานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: รามาการพิมพ์.
จรูญรัตน์ ตัณฑวณิช, ชาวไทยเชื้อสายจีนและผู้มีความรู้การแต่งกายบาบ๋า. สัมภาษณ์วันที่ 8 พฤษภาคม 2562.
จิรศักดิ์ อังคทายาท, ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อเครื่องแต่งกายพื้นเมือง จังหวัดภูเก็ต. สัมภาษณ์วันที่ 27 สิงหาคม 2562.
จำปา ศรีมุข, ชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในบริเวณย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า. สัมภาษณ์วันที่ 2 กรกฎาคม 2562.
ฉัตรปวีน์ ถิรณิชารุจศิริ, นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดระนอง. สัมภาษณ์วันที่ 9 กรกฎาคม 2562.
ปราณี สกุลพิพัฒน์; ศุภชัย สกุลพิพัฒน์; จักรพันธ์ เชาว์ปรีชา; และวณิชา โตวรรณเกษม. (2555). การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การแต่งกายของชุมชนบาบ๋าเพอรานากัน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
พัฒน์ จันทร์แก้ว. (2533). บรรพชนผู้สร้างเมือง ภูเก็จ 33. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพลส โปรดักซ์.
ฤดี ภูมิภูถาวร. (2553). วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต. กรุงเทพฯ: เวิลด์ออฟเซ็ท พริ้นติ้ง.
วิกรม กรุงแก้ว. (2560). พัสตราภรณ์ยอนหยา. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าท์.
สุภางค์ จันทวานิช และคณะ. (2534). ชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยและในภูมิลำเนาเดิมที่เฉาซันสมัยที่ 1 ท่าเรือจางหลิน (2310-2393). กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาวิตร พงศ์วัชร์, รองศาสตราจารย์. ครูภูมิปัญญาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรมในจังหวัดภูเก็ต. สัมภาษณ์วันที่ 15 ตุลาคม 2562.
ศุภพรพงษ์ชัย พรพงษ์, ทายาทรุ่นที่ 6 บ้าน 100 ปี เทียนสือ จังหวัดระนอง. สัมภาษณ์วันที่ 9 กรกฎาคม 2562.
เอนก นาวิกมูล, ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์. (บรรณาธิการ). (2561). สมุดภาพเมืองระนอง. นนทบุรี : พิมพ์ดี.
Tong, Lillian. (2014). Straits Chinese Gold Jewellery. Malaysia: Eastern Printers Sdn Bhd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ