พื้นที่ทางวัฒนธรรมในเฮือนไทญ้อ บ้านคลองน้ำใส จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • อัศวิน โรจน์สง่า สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เฮือนไทญ้อ, ชาวไทญ้อ, พื้นที่ทางวัฒนธรรม, การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่

บทคัดย่อ

          วัฒนธรรมการใช้พื้นที่ในเรือนพื้นถิ่นเป็นภาพสะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวบ้าน ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านกระบวนการเรียนรู้จากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมทำให้ความเจริญมุ่งไปสู่พื้นที่ในชนบทอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อรูปแบบเรือนพื้นถิ่นและวัฒนธรรมการใช้พื้นที่จนทำให้การใช้งานของพื้นที่ภายในเรือนเปลี่ยนไป และอาจจะถูกมองข้ามจนทำให้คุณค่าทางวัฒนธรรมสูญหายไป โดยเฉพาะกลุ่มชาวไทญ้อ บ้านคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีความสำคัญ เพราะถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีคุณลักษณะเฉพาะในการใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรม การศึกษานี้มีความมุ่งหมายเพื่ออธิบายคุณลักษณะเฉพาะในการใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมในเฮือนไทญ้อ บ้านคลองน้ำ ใส ข้อมูลในบทความนี้เป็นข้อมูลจากการศึกษาภาคสนามในหมู่บ้านคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2562 จากการสำรวจภาคสนาม ด้วยการสังเกตการณ์ บันทึกภาพ บันทึกเสียง และสัมภาษณ์ เจ้าของและสมาชิกในเฮือนไทญ้อ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับมาจะถูกนำมาเรียบเรียง วิเคราะห์ และสรุปผล ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ทางวัฒนธรรมในเฮือนไทญ้อ มี 3 มิติที่ซ้อนกันอยู่ มิติแรก คือ พื้นที่ทางกายภาพที่จับต้องได้ ซึ่งได้แก่ ครัวไฟ ห้องนอน (ส่วม) ระเบียง (เซีย หรือ ในเบียง) ชาน และใต้ถุน มิติที่ 2 คือ พื้นที่ทางความคิด เช่น ความผูกพันกับพื้นที่ และมิติสุดท้าย คือพื้นที่ทางสังคมที่สะท้อนตัวตนและคุณลักษณะของการเข้าไปใช้พื้นที่ และพบว่าการใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมในเฮือนไทญ้อ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องตามพลวัตทางสังคม ทั้งนี้พบว่าคติความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดพื้นที่ทางด้านกายภาพและพื้นที่ใช้สอยที่เป็นแบบแผน รวมถึงการแสดงออกทางด้านทัศนคติและคติความเชื่ออันเป็นลักษณะเฉพาะของชุมชนไทญ้อ บ้านคลองน้ำใส

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2553). ทรรศนะอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์.

คำไพ เกตชม. ชาวบ้านบ้านคลองน้ำใส. สัมภาษณ์วันที่ 8 กันยายน 2561.

จำรูญ พัฒนษร. (2521). ประวัติเมืองอรัญ (ตอน1). ปราจีนบุรี: โรงพิมพ์ประเสริฐศิริ. ถ่ายเอกสาร.

ชูศรี เกษสี. ชาวบ้านบ้านคลองน้ำใส. สัมภาษณ์วันที่ 7 เมษายน 2561.

บุญเรือง บวบหอม. ชาวบ้านบ้านคลองน้ำใส. สัมภาษณ์วันที่ 15 มีนาคม 2560.

พงษ์ เกษชม. ชาวบ้านบ้านคลองน้ำใส. สัมภาษณ์วันที่ 15 มีนาคม 2560.

มณี บุญเจือ; และคนอื่นๆ. ชาวบ้านบ้านคลองน้ำใส. สัมภาษณ์วันที่ 14 เมษายน 2561.

ปณิตา วงศ์มหาดเล็ก; และคนอื่น ๆ (2548). วัสดุและการก่อสร้างเรือนพื้นถิ่นในการอยู่ยั่งยืนของไทย. ม.ป.ท.: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับศิลปากร.

รีด, แอนโทนี. (2548). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคการค้า ค.ศ. 1450-1680 เล่ม 1 ดินแดนใต้ลม. แปลโดย พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.

เริงวุฒิ มิตรสุริยะ. (2557). “อุษาคเนย์” ประวัติศาสตร์อาเซียนฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: ยิปซี.

วันดี พินิจวรสิน. (2555). สองสถาน...บ้าน-เรือนลาวเวียง. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์.

ศิริกมล สายสร้อย; และคนอื่นๆ. (2545). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตจังหวัดสระแก้ว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สันต์ สุวัจฉราภินันท์. (2557). ว่าด้วยทฤษฎีสถาปัตยกรรม: พื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางสังคม. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2551). ชื่อบ้านนามเมือง จังหวัดสระแก้ว ลุ่มน้ำบางปะกง สุดพรมแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สุพัตรา สุภาพ. (2549). สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสงี่ยม เกษชม. ชาวบ้านบ้านคลองน้ำใส. สัมภาษณ์วันที่ 2 ตุลาคม 2560.

อนงค์รัตน์ ขันทองขาว. ชาวบ้านบ้านคลองน้ำใส. สัมภาษณ์วันที่ 8 มีนาคม 2562.

Carr, David; & Chan-Fai, Cheung. (2004). Space, Time, and Culture. Netherlands: Kluwer Academic Publishers.

Hillier, Jean & Rooksby, Emma. (2005) Habitus: A Sense of Place. England: Ashgate.

Kidd, Warren. (2002). Culture and Identity. Great Britian: Antony Rowe.

Lefebvre, Henri. (2003). The Production of Space. Oxford: Blackwell.

Oliver, Paul. (2006). Built to meet Needs: Cultural Issues in Vernacular Architecture. Routledge.

Waterson, Roxana. (1991). The Living House An anthropology of Architecture in South-East Asia.Oxford New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29