การศึกษาการออกแบบเลขศิลป์ที่แสดงอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กล้วยตาก จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
ออกแบบเลขศิลป์, บรรจุภัณฑ์กล้วยตาก, อัตลักษณ์ท้องถิ่นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบเลขศิลป์ที่แสดงอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดพิจิตร และนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเลขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์กล้วยตากชาละวันแล้วประเมินผลคุณลักษณะและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์กล้วยตากชาละวัน ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยในขั้นตอนแรกผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดพิจิตร และเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) โดยการศึกษาตำนาน เรื่องเล่า งานประติมากรรม งานจิตรกรรม และสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญ ใน 3 พื้นที่ด้วยกัน ได้แก่ 1) พื้นที่วัดถ้ำชาละวัน อำเภอเมืองพิจิตร 2) พื้นที่ถ้ำชาละวันข้างวัดมหาธาตุ อุทยานเมืองเก่าพิจิตร อำเภอเมืองพิจิตร และ 3) พื้นที่วัดอัมพวันเจติยาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบทางด้านภาพประกอบ โทนสี และลวดลาย แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบเครื่องหมายการค้าและงานออกแบบเลขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตากชาละวัน จากนั้นนำไปประเมินความเหมาะสมของรูปแบบเครื่องหมายการค้าโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเลขศิลป์ 3 ท่าน พบว่ารูปแบบเครื่องหมายการค้า แบบที่ 1 มีคะแนนคุณลักษณะเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องหมายการค้า กล้วยตากชาละวัน จังหวัดพิจิตร และสามารถแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดพิจิตรได้อย่างชัดเจน และมีความอ่อนช้อย เป็นมิตรมากกว่าแบบอื่น ๆ มีค่าคะแนนที่ได้คือ 64 คะแนน จากนั้นผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบเลขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตากชาละวัน และเก็บข้อมูลความคิดเห็นจากผู้บริโภคที่เข้ามาซื้อของในศูนยจำหน่ายสินค้า OTOP บริเวณบึงสีไฟ อำเภอเมืองพิจิตร โดยใช้การส่มุ โดยบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 45 คน และประเมินผลคุณลักษณะและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์กล้วยตากจังหวัดพิจิตร พบว่า คุณลักษณะทางด้านการออกแบบเลขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ มีความสะท้อนถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดพิจิตรเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60
Downloads
References
นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์. (2545). ประสิทธิผลของการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อผู้บริโภค.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ (การโฆษณา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
นิรมล ขมหวาน. (2557). อัตลักษณ์ของชุมชนตลาดโบราณบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ.ปทุมธานี : วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2554 4(2): 1-3.
จิตรพร ลิละวัฒน์. (2548). การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร : กรณีศึกษาประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). รายงานการวิจัย กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
รัชนีกร วงษ์สุวรรณ์. (2550). การศึกษาแนวทางในการออกแบบเครื่องหมายการค้าของสินค้าประเภทเครื่องประดับอัญมณี เพื่อการส่งออก. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
สุรัตนชัย ชื่นตา. (2555). วิเคราะห์การออกแบบตราสัญลักษณ์ไทยที่ชนะเลิศจากการประกวด. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ