การพัฒนาชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับอารยธรรมไทย โดยใช้บทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม
คำสำคัญ:
ชุดการเรียนรู้, อารยธรรมไทย, บทเพลงเทิดพระเกียรติ, พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, ทักษะการใช้ภาษาไทย, นักศึกษาเวียดนามบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้จากบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยและความรู้ด้านอารยธรรมไทยแก่ผู้เรียนชาวเวียดนาม ผู้วิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อบทเพลงและการสร้างชุดการเรียนรู้ จากนั้นจึงสร้างเครื่องมือ คือ ชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับอารยธรรมไทย โดยใช้บทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม จำนวน 8 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 พระมหากษัตริย์กับสังคมไทย ชุดที่ 2 ในหลวงในใจชาวไทย ชุดที่ 3 ในรูปที่มีทุกบ้าน ชุดที่ 4 ทำไมพระราชาทำงานหนัก ชุดที่ 5 เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ชุดที่ 6 ธรรมะของพระราชาเพื่อปวงชน ชุดที่ 7 ในหลวงของไทยและของโลก ชุดที่ 8 ทำไมคนไทยรักในหลวง แล้วนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่าชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับอารยธรรมไทย โดยใช้บทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม มีเนื้อหาเกี่ยวกับอารยธรรมไทย และมีค่าเฉลี่ยผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน 91.58 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ ส่วนผลด้านพัฒนาการทักษะการใช้ภาษาไทยนั้น กลุ่มตัวอย่างได้พัฒนาทักษะทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีค่าเฉลี่ย 13.97 ผ่านเกณฑ์ 7.5 คะแนน หรือ ร้อยละ 50 ทุกชุด แสดงให้เห็นว่าชุดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนชาวเวียดนามได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทย และได้เรียนรู้เกี่ยวกับอารยธรรมไทยเรื่องพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย จึงเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาไทยของชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่เรียนด้านไทยศึกษา
Downloads
References
ธงไชย แมคอินไตย์ และรวมศิลปิน (2559). รวมบทเพลง พ่อของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ,
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่.
พิสณุ ฟองศรี (2557). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ, ด่านสุทธาการพิมพ์.
มีชัย เอี่ยมจินดา (2550, กรกฎาคม – กันยายน). "สถานภาพการสอนภาษาไทยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม." วารสารวิชาการ 10(3): 28-32.
ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช (2557). เพลงของโลกและของเรา. กรุงเทพฯ, มติชน.
สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย, ส. ก., และกระทรวงวัฒนธรรม, (2557). รวมเพลงเทิดพระเกียรติ 86 พรรษา คีตมหาราชัน. กรุงเทพฯ, สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้สร้างสรรค์เพลง, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
สมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย (2540). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสหประชาชาติ. กรุงเทพฯ, เทคนิค 19.
สุคนธ์ สินธพานนท์ (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ, 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อนุมานราชธน, พ. (2546). การศึกษาวรรณคคดีแง่วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ, ศยาม.
อรรถวิทย์ รอดเจริญ (2552, มกราคม – มิถุนายน). "ลีลาภาษาในบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช." วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 16(1): 117 – 129.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ