วิวัฒนาการการสร้างสรรค์จิตรกรรมภาพคนในศิลปะสมัยใหม่ของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2486 – 2505

ผู้แต่ง

  • เด่นพงษ์ วงศาโรจน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ศิลปะหลักวิชา, ศิลปะสมัยใหม่, หัวก้าวหน้า, จิตรกรรมภาพคน

บทคัดย่อ

           ในระหว่างปี พ.ศ. 2486 – 2505  ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากต่อการสร้างสรรค์ศิลปะแนวทางตะวันตกในสังคมไทย ทั้งในฐานะผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร และในฐานะของกรรมการผู้ตัดสินรางวัลเวทีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ส่งผลให้การสร้างสรรค์ศิลปะแบบเหมือนจริง ภายใต้แนวทางการแสดงออกแบบศิลปะหลักวิชา (Academic Art) ที่มี ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้สนับสนุนหลักนั้น ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีกระแสความนิยมหลักของรูปแบบศิลปะดังกล่าวนั้น ก็ไม่อาจปิดกั้นอิทธิพลของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) ซึ่งกำลังเติบโตอยู่ในดินแดนตะวันตกขณะนั้นได้ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์สร้างสรรค์ศิลปะในแนวทางของศิลปะสมัยใหม่ขึ้นโดยกลุ่มศิลปินหัวก้าวหน้าของไทย

           เมื่อพิจารณาเฉพาะในผลงานจิตรกรรมภาพคน จะพบว่าเริ่มมีพัฒนาการที่ก้าวรุดหน้าไปมาก ทั้งนี้เกิดขึ้นมาจากปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเดินทางไปศึกษาศิลปะในต่างประเทศ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของศิลปะสมัยใหม่ในดินแดนตะวันตกจากสื่อต่างๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์และ            การแสดงออกของศิลปินหนุ่มสาวในเวลานั้นทั้งสิ้น

           ปรากฏการณ์ในผลงานจิตรกรรมของกลุ่มศิลปินหัวก้าวหน้าอย่าง เฟื้อ หริพิทักษ์ สมโภชน์ อุปอินทร์ และ อารี สุทธิพันธุ์ ได้สะท้อนให้เราเห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสมัยใหม่ ที่ส่งผ่านมาสู่พลังทางความคิด จนเกิดเป็นศักยภาพของการสร้างสรรค์ที่ต่างไปจากกรอบของศิลปะแบบเหมือนจริงแบบหลักวิชาที่เป็นศิลปะกระแสหลักในเวลานั้นได้อีกต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

ฉลอง พินิจสุวรรณ. (2547). ศิลปินและศิลปะ. เชียงราย: อินเตอร์พริ้นท์.

นรา (นามปากกา). (2554). ยังเฟื้อ. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.

โบ นิกันติ์ วะสีนนท์. (2550). เรือนร่างของเพศสภาพและความเป็นชายขอบ. ใน ศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร.

ปวีณา เอื้อน้อมจิตต์กุล. (2553). สัตว์ในงานทัศนศิลป์ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477-2550. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. (ทฤษฎีศิลป์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

พิพัฒน์ พงศ์รพีพร (บรรณาธิการ). (2539). ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2529). ภาพสะท้อนจากประสบการณ์ในสหรัฐอเมริกาของศิลปินไทย. กรุงเทพฯ: หอศิลป์พีระศรี.

วิโชค มุดามณี และ สุธี คุณาวิชยานนท์. (2540). ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลอง สิริราชสมบัติครบ 50 ปี.

สิทธิธรรม โรหิตะสุข, อาจารย์. วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2545). จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่. กรุงเทพฯ: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

__________________. (2558). ศิลปะลัทธิสมัยใหม่: นามธรรมทวนกระแสประเพณี. ใน ศิลปะร่วมสมัยไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.

อำนาจ เย็นสบาย. (2540). สีสันและความงาม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28