แก้วโป่งข่ามบ้านนาบ้านไร่ : ผลึกหินธรรมชาติสู่รูปแบบเครื่องประดับ

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องประดับ วิชาเอกออกแบบเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

คำสำคัญ:

แก้วโป่งข่าม, บ้านนาบ้านไร่, ผลึก, เครื่องประดับ

บทคัดย่อ

      บทความวิชาการนี้นำเสนอเรื่องแก้วโป่งข่ามบ้านนาบ้านไร่ ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายแก้วโป่งข่ามที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปางและประเทศไทย ในประเด็นของบริบทชุมชนบ้านนาบ้านไร่ ลักษณะทางอัญมณีวิทยาและทางกายภาพของแก้วโป่งข่าม ความสำคัญของแก้วโป่งข่ามกับชุมชนในเชิงความเชื่อ แหล่งกำเนิดแก้วโป่งข่าม ชื่อและชนิดของแก้วโป่งข่ามที่สอดคล้องกับความเชื่อของผู้คน การทำอาชีพเจียระไนแก้วโป่งข่ามที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ขั้นตอนการเจียระไนแก้วโป่งข่าม การนำแก้วโป่งข่ามมาประดับบนตัวเรือนเครื่องประดับรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังได้นำเสนอในประเด็นของการพัฒนาแก้วโป่งข่ามเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน แก้วโป่งข่ามเป็นพลอยเนื้ออ่อนที่เกิดจากผลึกหินธรรมชาติที่เรียกว่า “ควอตซ์” “(Quartz)” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหินเขี้ยวหนุมาน หรือ “หินดินสอ” ซึ่งเป็นการเรียกชื่อของผู้คนตามลักษณะกายภาพที่ง่ายต่อการจดจำ แก้วโป่งข่ามเป็นพลอยเนื้ออ่อน ที่ผู้คนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยหรือรู้จักอย่างแพร่หลายมากนัก อาจเนื่องจากชื่อหรือลักษณะของแก้วเป็นสิ่งที่ไม่มีจุดเด่นในด้านความสวยงามและสีสัน แต่ทั้งนี้แก้วโป่งข่ามก็ยังมีจุดเด่นต่อผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการครอบครองไว้ในเชิงความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางและความอยู่ยงคงกระพัน อาชีพการเจียระไนแก้วโป่งข่ามต้องอาศัยบุคคล และหน่วยงานหลายองค์กร ที่จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

มงคล เฟยตา. ประธานกลุ่มเจียระไนแก้วโป่งข่าม บ้านนาบ้านไร่. สัมภาษณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2560.

มงคล เฟยตา, ประธานกลุ่มเจียระไนแก้วโป่งข่าม บ้านนาบ้านไร่. สัมภาษณ์วันที่ 19 กันยายน 2561.

เศรษฐมันตร์กาญจนกุล. (2549). เส้นสายลายไทย ชุด ตัวละครในรามเกียรติ์.กรุงเทพ ฯ : เศรษฐศิลป์.

สาขาอัญมณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2551). ลักษณะทางวิทยาแร่ของมลทินภายในโป่งข่ามจากอำเภอเถิน จังหวัลปาง. เชียงใหม่: ม.ป.พ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28