การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วิศัลย์ศยา ศุภสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรศิริ ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุวัฒนา ธาดานิติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์งานวิจัย, การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น, งานวิจัยพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานะองค์ความรู้ด้านการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านทฤษฎีและแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย ด้านวิธีวิทยาการวิจัย และด้านผลการศึกษา ด้วยการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นงานวิจัยระดับปริญญาเอก ระดับปริญญาโท และรายงานการวิจัย จำนวน 15 เรื่อง ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2561 จากแหล่งข้อมูล 3 แห่งคือ Thai Library Integrated System (ThaiLIS) E-Library สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผลการวิจัยพบว่าด้านแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยมี 11 ทฤษฎีและแนวคิดหลัก เช่น แนวคิดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ทฤษฎีการมีส่วนร่วมของชุมชน ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการ เป็นต้น ด้านวิธีวิทยาการวิจัย    พบว่า มีการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ มากที่สุด (40.0%) รองลงมาเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (33.3%) ด้านผลการศึกษา พบว่า สามารถแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ด้านการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

References

โครงการพิทักษ์มรดกสยาม. (2554). บทสรุปการเสวนาเรื่อง พิพิธภัณฑ์ไทย: ศักยภาพที่น่าใช้ให้เกิดผล. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561, จาก http://www.siamese-heritage.org/pdf/Museum_summary.pdf

ธีระพร วีระถาวร. (2545, กันยายน-ธันวาคม). การเชื่อมโยงองค์ความรู้จากการวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน. ใน วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 15 (3) : 323 - 325.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2541). รายงานการวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา. ถ่ายเอกสาร

นิติบดี ศุขเจริญ และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล. (2557, กันยายน-ธันวาคม). การวิเคราะห์อภิมานและการสังเคราะห์อภิมาน. ใน วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (3) : 43-51.

ปราณี พิพัฒน์สถิตกุล. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การวิเคราะห์อภิมาน. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปราโมทย์ เหลาลาภะ และกาญจนา เส็งผล. (2555, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ : พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม. ใน วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4(1) : 36-49.

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2556). การพัฒนารูปแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2556). จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นควรสร้างเพื่อใคร. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2561, จาก http://lek-prapai.org/home/view.php?id=1006

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2544). กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาหัวข้อพิพิธภัณฑ์ไทยในศตวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. หน้า 2-7.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2548). กระบวนการโบราณคดีชุมชน : การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29