การพากย์และเจรจาที่ใช้ในการแสดงโขน NARRATION AND DIALOG USED IN KHON PERFORMANCES

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร์ ทองนิ่ม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ “แบบแผนและกลวิธีการพากย์-เจรจาโขนของกรมศิลปากร” โดยนำเสนอระเบียบวิธีจากการศึกษาวิเคราะห์แบบแผนและวิธีการพากย์-เจรจาโขน และกลวิธีการพากย์-เจรจาโขนของกรมศิลปากรที่สืบทอดจากกรมมหรสพสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงกรมศิลปากรในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของการพากย์ไม่ได้แบ่งตามเนื้อหาบทพากย์ที่ได้แบ่งไว้แต่เดิม 6 ประเภท คือ พากย์เมือง(พากย์พลับพลา) พากย์บรรยาย พากย์เบ็ดเตล็ด พากย์รถ พากย์ชมดง และพากย์โอ้อัน เป็นการแบ่งตามเนื้อหาบทโขน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการพากย์นั้นควรจะแบ่งตามทำนองในการพากย์ คือ ทำนองปกติ หรือ พากย์เดินทำนอง ทำนองเพลงชมดง หรือพากย์ชมดง และทำนองเพลงโอ้ปี่ใน หรือ พากย์โอ้ เนื่องจากการแบ่งประเภทแต่เดิมทำให้เกิดความสับสน ถ้าหากใช้ทำนองในการพากย์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทก็จะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ด้วยการพากย์เป็นศาสตร์ทางด้านคีตศิลป์ สำหรับการเจรจานั้น มี 2 ประเภท คือ เจรจาด้น และเจรจากระทู้ ใช้ทำนองในการเจรจา 3 ทำนอง คือ เจรจาทำนองบรรยาย หรือ เจรจาแบบเดินทำนอง เจรจาทำนองพูด และเจรจาแบบกวนมุข วิธีในการเจรจานั้นจำเป็นต้องใส่อารมณ์ตามบริบท และอารมณ์ของตัวโขนที่แสดงในขณะนั้น เพื่อสร้างอรรถรสให้กับผู้ชม

คำสำคัญ : พากย์ , เจรจา , โขน

Abstract

This article is a part of the Thesis “THE STYLES AND TECHNIQUES OF THE DEPARTMENT OF FINE ARTS' KHON NARRATIVES AND DIALOGUES”, with the objective to study the approaches of narratives and dialogues for Khon performance which have been recently inherited from Department of Royal Entertainment in the Reign of Chulachomklao The King to Fine Arts Department. Findings shown that the methods of narratives are not categorized based on 6 typical groups which are Paak Muang (Paak Pabpla) – for main actor, Paak Banyai – for illustration, Paak Bedtaled – for minor acts, Paak Rod – for troops and armies, Paak Chomdong – for recreational acts, and Paak Oh – for condolence. Ideally, narratives should be divided based on theme of music, for instance, normal theme for Paak Derntamnong – illustration, walking and relaxing theme for Paak Chomdong and flute theme for Paak Oh, in order to avoid confusion, according that narratives is the vocal arts that focus on verbal expression. Patterns of dialogues are categorized into 2 types which are Don dialogues (introduction by using verse) and Kratu dialogues (simultaneous verbal expression). 3 themes of dialogues include illustration, communication, and humor. Dialogues can be emotional based on context and feeling of actors so as to create entertaining mood for audiences.

Keywords: Khon narrator, narratives and dialogues

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ธีรภัทร์ ทองนิ่ม

นิสิตปริญญาเอก สาขานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads