แนวคิดการนำมิติทางวัฒนธรรมสู่การออกแบบสร้างสรรค์ที่สับสน

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

วัฒนธรรม, ภูมิปัญญา, การออกแบบ

บทคัดย่อ

           วัฒนธรรมและภูมิปัญญาเป็นสิ่งบ่งชี้สังคมและมนุษย์ สื่อสัญลักษณ์ของสังคมถึงความเจริญและความเสื่อมวัฒนธรรมจึงเป็นเครื่องแสดงถึงบุคลิกลักษณะของชาติ และเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ ประเทศใดมีวัฒนธรรมดี จะส่งผลต่อความเจริญของคนในสังคม โดยปัจจุบันวัฒนธรรมและภูมิปัญญากำลังได้รับความสนใจมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การตื่นตัวอันเป็นผลของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากกระแสการผลิต เพื่อจำหน่ายตามกลไกของตลาด จากทิศทางดังกล่าวทำให้นักออกแบบสร้างสรรค์ รวมถึงนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน ได้สนใจนำแนวคิดการใช้มิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาติ มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผลงาน เพื่อให้เกิดจุดขาย และสร้างความแตกต่าง รวมถึงการยึดโยงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่การต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ แต่นั่นกลับ ก่อให้เกิดปัญหาจากความมักง่าย การขาดองค์ความรู้ที่เพียงพอในการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไปใช้ประโยชน์ การนำไปใช้ออกแบบที่ไม่เหมาะสมกับบริบททางวัฒนธรรมเดิม สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วส่งผลกระทบต่อทุนวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งนั่นอาจ เป็นการทำลายมากกว่าการสร้างสรรค์ จากบทความจึงสะท้อนตัวอย่างการอธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถอย่างถูกต้องเหมาะสม

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2543). รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์. (2554). Marketing Panorama การตลาดมุมกว้าง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ.

กัมพล แสงเอี้ยม. (2558), เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2558. “ไผ่กับงานหัตถกรรมที่ยั่งยืนสู่การออกแบบร่วมสมัย”. วารสารศิลปกรรมสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 10(2) : 1-18.

กัมพล แสงเอี้ยม. (2559), เดือนมกราคม – มิถุนายน 2559. “วัฒนธรรมร่วมสมัยสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบงานศิลปหัตถกรรม ผ้าทอท้องถิ่น” วารสารศิลปกรรมสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 11(1) : 1-12.

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2561), เดือนตุลาคม 2560 – มีนาคม 2561. “ออกแบบหัตถอุตสาหกรรม(กวม).” วารสารสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 15(1) : 70-103.

“งานปอยหลวง.” (2561). [online]. Available: http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/581205. 2561.

จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2554). แนวคิดหลังสมัยใหม่ : การย้อนสู่โลกแห่งภูมิปัญญา.วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 13(1) : 20-23.

จุน ซากุราดะ. (2558). Basic Infographic. แปลโดย ณิชมน หิรัญพฤกษ์. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์จำกัด

“เฉลว.” (2557). [online]. Available: ไทยรัฐออนไลน์. 2557.

“ฉัตร.” (2561). [online]. Available: https://facebook/Royal World Thailand. 2561.ศาลาจริยธรรม หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดพะเยา

“ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้.” (2561). [online]. Available: https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/1/5d4f24ad.2561.

แนวคิดอุตสาหกรรมการสร้างสรรค์โลกปัจจุบันในการสร้างมูลค่า.” (2561). [online]. Available:www.marketingoops.com/news/biz-news/tcdc-9-industry-trending-2561.

ประชิด สกุณะพัฒน์, วิมล จิโรจพันธุ์, กนิษฐา เชยทีวงศ์. (2551). มรดกทางวัฒนธรรมทางภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ประชิด สกุณะพัฒน์, วิมล จิโรจพันธุ์, กนิษฐา เชยทีวงศ์. (2551). มรดกทางวัฒนธรรมทางภาคกลางและภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

“ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ ความเป็นอยู่.” (2561). [online]. Available: https://archive.clib.psu.ac.th/online- exhibition/nangyai/page4.html.2561.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2550). เล่าเรื่องเมืองใต้ : ภาษา วรรณกรรม ความเชื่อ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครงที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวุธ สุวรรณฤทธิ์และคณะ. (2549). วิถีไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2542). ศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ : คอมแพคท์พริ้น.

“ศิลปะและหัตถกรรม (Art & Craft). (2561). [online]. Available: www.marketingoops.com/news/biz-news/tcdc-9-industry-trending. 2561.

สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์. (2559). คู่มือหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. เชียงใหม่ : สมาร์ทโคตติ้ง.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2549). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

"สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.” (2561). [online]. Available:http://computertong.blogspot.com/p/blog-page_18.html. 2561.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับกระบวนการเรียนรู้และปรับตัวของชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

เอกวิทย์ ณ ถลาง, นิธิ เอียวศรีวงศ์, วิจารณ์ พานิช, รสนา โตสิตระกูล และนงคราญ ชมพูนุช. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

Braungart, M. and McDonough, W. (2002). Cradle to Cradle. New York : North Point Press.

“Post Modern.” (2561). [online]. Available: http://pioneer.chula.ac.th/-yongyudh/papers/postmodern.htm. 2561.

“Siam Society.” (2561). [online]. Available: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Siam_Society-_Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29