พัฒนาการสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม และการดำรงอยู่ของหอศิลป์ทวี รัชนีกร

ผู้แต่ง

  • ศรีสุคล พรมโส สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ซิสิกกา วรรณจันทร์ สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พัฒนาการของหอศิลป์, แหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม, การดำรงอยู่ หอศิลป์ทวี รัชนีกร

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการดำรงอยู่
ของหอศิลป์ทวี รัชนีกร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ของการวิจัย ลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม ทำการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 30 คน ทำการวิเคราะห์โดยนำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ ตีความ และสร้างข้อสรุป
           ผลการวิจัยพบว่า หอศิลป์ทวี รัชนีกร มีพัฒนาการแบ่งออกเป็น 4 ยุค ได้แก่ ยุคที่ 1 ยุคบุกเบิกหอศิลป์แห่งแรก
ของเมืองโคราช ยุคที่ 2 ยุคศิลปะเฟื่องฟู ยุคที่ 3 ยุคปรับตัวจากหอศิลป์ที่แสดงงานศิลปะของตนเองสู่หอศิลป์เพื่อสาธารณชน
และยุคที่ 4 ยุคสู่แหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยปัจจัยของการดำรงอยู่ของ หอศิลป์ทวี รัชนีกร ได้แก่ ความมุ่งมั่น
ของศิลปิน การเป็นที่ยอมรับของสังคม การได้รับการสนับสนุนจากเครือข่าย และนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริม และสนับสนุน
บ้านศิลปินแห่งชาติ ในฐานะแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลวรรณ พิชัย. ผู้จัดการ หอศิลป์ ทวี รัชนีกร. สัมภาษณ์. 24 มีนาคม 2561.

ชญาน์วัต ปัญญาเพชร. (2558, มกราคม – มิถุนายน). ศิลปะร่วมสมัยไทยภายใต้แนวคิดหลังอาณานิคมในทศวรรษที่ 1990.วารสารวิจิตรศิลป์. 6(1): 86-127.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2543). หอศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยกาญจนาภิเษกสมโภชน์ ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์และฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดชา วราชุน. (2540, มิถุนายน – พฤศจิกายน). ชมเบื้องหลังความเป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ. ใน วารสารวิชาการศิลปกรรมบูรพา. 1(1): 55-56.

ทวี รัชนีกร. ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์. 20 มีนาคม 2561.

ไพฑูรย์ คงคา. สัมภาษณ์. 20 มีนาคม 2561.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิภูษณะ ศุภนคร, สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง, และวิรุณ ตั้งเจริญ. (2560, ฉบับพิเศษ เดือนมกราคม). หอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร: การจัดการและการดำรงอยู่ ในบริบทของศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย. ใน วารสารวิจัยและพัฒนาฉบับมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 9 (3): 105-122.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2555, ธันวาคม-กรกฎาคม). การเรียนรู้และการสร้างสรรค์. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 14(1):14-20.

ศิลป์ พีระศรี. (2545). “ศิลป”. ใน ข้อเขียนและงานศิลปกรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. กรุงเทพฯ: หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สรรเสริญ มิลินทสูต. (2561). พื้นที่ศิลปะร่วมสมัยความเป็นไปได้ที่ไม่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/jan_june2008/Sanlasern.pdf

สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง. (2552). องค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ : ทวี รัชนีกร. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13(1): 16-37.

เสริชย์ โชติพานิช และ บัณฑิต จุลาสัย. (2547). การบริหารทรัพยากรกายภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อโณทัย อูปคำ. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). บทบาทและอิทธิพลของพื้นที่ศิลปะทางเลือกโปรเจค 304 ที่มีต่อศิลปะร่วมสมัยไทย. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 8(2):2906-2921.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29