แนวทางการแก้ไขปัญหาการวิจัยนาฏยศิลป์: ระบบความคิดและการใช้ภาษา
คำสำคัญ:
งานวิจัยนาฏยศิลป์ไทย/ปัญหาการวิจัย/งานวิจัยทางศิลปะบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาการวิจัยนาฏยศิลป์: ระบบความคิดและการใช้ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การวิจัยนาฏยศิลป์: ปัญหาจากกระบวนการวิจัยและแนวทางแก้ไข” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัยทางด้านนาฏยศิลป์ในงานวิจัยทางด้านนาฏยศิลป์ไทยในระดับอุดมศึกษา และเพื่อเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงวิชาการด้านนาฏยศิลป์ วิธีดำเนินการวิจัยหลักใช้วิธีการค้นคว้าหลักการวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์ การสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางด้านนาฏยศิลป์ไทยจาก 5 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งการวิเคราะห์งานวิจัยระดับปริญญาตรีรวมทั้งสิ้น 100 ฉบับ
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาด้านระบบความคิดและการใช้ภาษาของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นปัญหาสำคัญอันดับแรก โดยแบ่งประเด็นปัญหาออกเป็น 8 ลักษณะ ได้แก่ 1. ความรอบรู้และใฝ่รู้ของผู้วิจัย 2. ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน 3. ความไม่สม่ำเสมอของการใช้ภาษา 4. การใช้ภาษาพูดในการวิจัย 5. การลำดับข้อมูลไม่ต่อเนื่อง วกวนและซ้ำซ้อน 6. ข้อจำกัดด้านคลังคำของผู้วิจัย 7. ความละเอียดในการอธิบายความไม่เพียงพอ และ 8. ข้อบกพร่องในการสะกดคำ ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะวิธีแก้ไขให้มีการปรับพื้นฐานการใช้ภาษา มีการกระตุ้นให้เสริมทักษะด้านการจัดระบบความคิดโดยอาจารย์ผู้สอน รวมทั้งเสริมประสบการณ์ในการค้นคว้างานวิจัยของผู้อื่นและตรวจทานงานวิจัยของตนเองให้ได้ระดับมาตรฐานวิชาการ
Downloads
References
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560.
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ; จามจุรีโปรดักท์.
ปิยวดี มากพา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รองคณบดีฝ่ายบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม คณะ
ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560.
ปิยวดี มากพา, (2560). การพัฒนาต้นแบบคุณลักษณะนักจัดการธุรกิจการแสดงที่พึงประสงค์. วารสารสถาบัน
วัฒนธรรมและศิลปะ. ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (35) กรกฎาคม-ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/80855/64373
พิษณุ ฟองศรี. (2555). การเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
พิษณุ ฟองศรี. (2552). 108 ข้อบกพร่อง: แนวทางปรับปรุงการเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ:
บริษัทรุ่งเพชรการพิมพ์ จำกัด.
สุภาวดี โพธิเวชกุล, รองศาสตราจารย์. อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ