Art of Social Satire
DOI:
https://doi.org/10.69598/sbjfa163578Keywords:
Social Satire, To satire the society, InequalityAbstract
จากการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบแนวคิด วิธีการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินที่แสดงออกถึงสภาพสังคมแต่ละยุคสมัย อันเกิดจากผู้คนขาดศีลธรรมในใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สังคมเสื่อมถอยลงทุกวัน ท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยความเลวร้ายในด้านต่างๆ เช่น สังคมที่บีบคั้นการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้มีความละโมบ ไม่รู้จักพอเพียง พอดี สร้างนิสัยการเอารัดเอาเปรียบระหว่างชนชั้น ความไม่เท่าเทียม และไม่เป็นธรรมของสังคม ที่ผู้คนต่างคิดว่าตนเองอยู่เหนือคนอื่น หวังแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ จนเกิดการทุจริตคอรัปชั่นในภาครัฐและเอกชน โดยมีแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์มาจาก ข้อมูลจากตำรา หนังสือ เอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับสภาพปัญหาสังคมทั่วไป เช่น ข้อมูลปัญหาอาชญากรรม ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม และผลจากเครื่องมือของผู้วิจัยที่ได้ทำการเก็บรวบรวมสถิติไว้ นอกจากผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลทางศิลปะจากศิลปินกลุ่มดาดา (Dadaism) และศิลปินร่วมสมัย (Contemporary Art) ศิลปะแนวความคิด (Conceptual Art) ภาพเขียน (Painting) ศิลปะการจัดวาง (Installation Art) วิดีโออาร์ต (video Art) และหลักทฤษฎีของนักปรัชญาเช่น ทฤษฎีประสบการณ์นิยม ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม และทฤษฎีจิตวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพความเป็นจริงของสังคม ที่ศิลปินได้สัมผัสด้วยตัวเอง ซึ่งศิลปินได้นำเอาความรู้สึกเหล่านั้นมานำเสนอ และถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก โดยผ่านผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ และสอดแทรกเนื้อหาแนวความคิด ที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพ หรือเหตุความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม และปลูกจิตสำนึกเพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนได้ตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรมความดีงาม ความถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และมีความจำเป็นต่อสังคม
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This license allows others to:
• Share: Copy and redistribute the material in any medium or format.
• Attribution: Proper credit must be given to the author(s) and the journal as the source.
• Non-Commercial Use: The work cannot be used for commercial purposes.
• No Derivatives: The material must remain unchanged and cannot be used to create derivative works.
The journal's editorial team does not have to agree with the views and comments in the author's article, nor are they responsible for the comments.