การพัฒนาและยกระดับพุทธจริยะวิถีวัดและชุมชนเมืองต้นแบบการฌาปนกิจศพ

Main Article Content

พระครูวิรุฬห์สุตคุณ อุตฺตมสกฺโก
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
พระครูสังฆรักษ์วัชระ เทวสิรินาโค
ทักษิณ ประชามอญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมระบบการเผาศพโดยใช้เตาเผาศพอัจฉริยะ 2) เพื่อสร้างคู่มือในการจัดการเตาเผาศพอัจฉริยะ และ 3) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ให้แก่สัปเหร่อสามารถใช้งานเตาเผาศพอัจฉริยะ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเชิงปริมาณ ได้กลุ่มตัวอย่างจากการสัมภาษณ์ พระสงฆ์ จำนวน 10 รูป ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน นัก วิชาการ จำนวน 5 คน จัดสัมมนา จำนวน 17 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน รวม 45 คน และวิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ปริมาตรอากาศส่วนเกินในการเผาไหม้ ร้อยละ 50 หรือที่ปริมาตรออกซิเจน ร้อยละ 7 พบว่า มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้ ช่วยลดมลพิษ ไดออกซิน ฟิวแรนส์ กลิ่น ควัน และการส่งเสริมใช้เตาเผาศพอัจฉริยะให้กับทางวัด และจัดทำเอกสารชี้แจงต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ ได้ตระหนักถึงเรื่องการปรับเปลี่ยนเตาเผาศพที่สามารถลดค่าใช้จ่าย และรักษาสิ่งแวดล้อม


2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 จัดทำคู่มือการใช้เตาเผาศพอัจฉริยะมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ปัญหามลพิษจากการเผาศพ 2) เตาเผาศพอัจฉริยะทางเลือกใหม่ 3) ประโยชน์จากการใช้เตาเผาศพอัจฉริยะ คู่มือนี้จะแนะนำคุณสมบัติของเตาเผาศพอัจฉริยะทางเลือกใหม่ วิธีการใช้งาน และประโยชน์จากการใช้เตาเผาศพอัจฉริยะ


3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ให้แก่สัปเหร่อสามารถใช้งานเตาเผาศพอัจฉริยะ ด้วยการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องมลพิษ และทางเลือกใหม่เพื่อลดมลพิษอบรมสาธิตการใช้งานเตาเผาศพอัจฉริยะและสาธิตการใช้งานเตาเผาศพอัจฉริยะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ. (2556). สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต : กรณีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน(รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธนาวิชญ์ จินดาประดิษฐ์ และ จารุวรรณ ยอดระฆัง. (2552). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และคณะ (2551). การจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง(รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.).

ประเวศ วะสี. (2541). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์ และ รวีโรจน์ ศรีคำภา. (2564). สมดุลชีวิต. วารสารธรรมวัตร, 2(2), 29-37. สืบค้นจาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/649

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2543). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ. (2549). วิธีปฏิบัติงาน วิธีการทำงาน คู่มือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ.

สุขสันต์ สุขสงคราม. (2564). แนวคิดการบริหารแบบวงจรคุณภาพ (PDCA) กับการบริหารแบบพระพุทธศาสนา. วารสารธรรมวัตร, 2(1), 39-49. สืบค้นจาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/ view/637

Borwornchai, D. (2020). Knowledge Management About Investigative Work That is The Best Practice of The Detective 4.0 Era. Journal of Arts Management, 4(2), 385–398. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/241505

Hua, X., & Wang, W. (2015). Chemical Looping Combustion: A New Low-Dioxin Energy Conversion Technology. Journal of Environmental Sciences, 32(1), 135-145. https://doi.org/10.1016/j.jes.2014.09.044

Mari, M., & Domingo, J. L. (2010). Toxic Emissions from Crematories: A Review. Environment International, 36(1), 131-137. https://doi.org/10.1016/j.envint.2009.09.006

Wang, L., Lee, W., Chang-Chien, G., Tsai, P. (2003). Characterizing the Emissions of Polychlorinated Dibenzo-p-dioxins and Dibenzofurans from Crematories and Their Impacts to the Surrounding Environment. Environmental Science and Technology, 37(1), 62–67. https://doi.org/ 10.1021/es0208714