ความปรารถนาของมนุษย์: บทวิเคราะห์ในมิติพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระมหาวีรธิษณ์ อินทะโพธิ์
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้หลักการทำให้ความปรารถนาประสบผลสำเร็จ มนุษย์ล้วนมีความปราถนา 5 ประการในจิตเสมอคือ  1) โภคะ คือ การมีทรัพย์สมบัติมากในทัศนะทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า เพราะในอดีตชาติบุคคลนั้นเคยให้ทานจึงส่งผลให้เกิดมาในชาตินี้มีทรัพย์สมบัติมาก 2) อายุ มนุษย์ทุกคนปรารถนาจะให้มีอายุยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลก มนุษย์ต้องไม่มีจิตเบียดเบียน มีสุขภาพจิตดีจะก็ทำให้มีสุขภาพกายดี ก็จะทำอายุยืนยาว 3) วรรณะ คือ ผิวพรรณงดงาม เป็นยอดความปรารถนาของผู้หญิงทุกคนแม้รู้ว่าเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน คงทน ถาวร ร่วงโรยไปตามกาลเวลา แต่ทุกคนก็ต้องการให้ตนสวยงาม ดูดี 4) ความสุข มี 2 คือ กายิกสุข เจตสิกสุข และคิหิสุข 4 ประการ เป็นความสุขในโลกิยภูมิ ไม่ทำให้พ้นทุกข์ จึงควรแสวงหาโลกุตรสุขอันเป็นความสุขที่สูงขึ้นไป 5) ยศ แบ่งเป็น บริวารยศและเกียรติยศ ต้องดำเนินชีวิตตามหลักธรรม 7 ประการ คือ ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญ สำรวม เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท  จะทำให้ประสพความสำเร็จ และมียศตามมา ฉะนั้น ความปรารถนาในมนุษย์สมบัติที่จะสมปรารถนาต้องปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรแก่การได้มนุษย์สมบัติด้วย  ไม่ใช่ตั้งความปรารถนาอย่างเดียว การตั้งความปรารถนาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นหรือแรงกระตุ้นเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติเป็นส่วนสำคัญในการที่จะได้มาซึ่งมนุษย์สมบัติตามที่ตนปรารถนาหากไม่สมปรารถนาก็ไม่ควรเสียใจเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นโลกธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำลอง สารพัดนึก. (2548). พจนานุกรม บาลี-ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เรืองปัญญา.

ป. หลงสมบุญ. (2540). พจนานุกรม มคธ-ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรืองปัญญา.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ. (2537). ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง .

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2550). พรตลอดปี ชีวิตตลอดไป. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิญญาณ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2544). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

Chomdee, P. P. (2021). Kalyanamitta of Social Study Teachers: in Subject of Buddhism at Schools of Muang District, Nakhon Pathom Province. International Journal of Multidisciplinary in Cultures & Religions Studies, 2(1), 13-20. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ijmcr/article/view/255555

Hangsakul, P. G. (2021). Information Technology for Educational Administration. Journal of Educational Management and Research Innovation, 3(1), 1-10. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250590

Pewdum, P. (2021). Professional Learning Community to the Success of the Organization. Journal of Educational Management and Research Innovation, 3(1), 11-18. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250580

Siriwattano, P. S. (2021). A Society of Happiness: Following the Principle of Sadharanabhogidham. International Journal of Multidisciplinary in Cultures & Religions Studies, 2(1), 1-6. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ijmcr/article/view/ 249870

Sri-aram, P. (2021). The Important Buddha Images: Concepts, Values and Influences in Thai Society. Journal of Educational Management and Research Innovation, 3(1), 51-60. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250817

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1-20.