พระพุทธรูปสำคัญ: แนวคิด คุณค่า และอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย

Main Article Content

ภูริทัต ศรีอร่าม

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “พระพุทธรูปสำคัญ: แนวคิด  คุณค่า และอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย เพื่อศึกษาแนวคิดและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทยและเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของพระพุทธรูปสำคัญกับพัฒนาการทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ประชากรที่ใช้คือ เจ้าอาวาส  ผู้นำชุมชน  นักวิชาการศาสนาและประวัติศาสตร์พุทธศิลป์ ประชาชนผู้มานมัสการ จำนวน 17 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก  ผลการวิจัยพบว่า


1) หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ ครั้งแรกหล่อด้วยสำริด ภายหลังพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริง จึงเป็นแบบปูนปั้น ลงรักปิดทองพระวรกายแบบเทวรูป พระพักตร์แบบล้านนา พระเกตุมาลาแบบปลี  ประทับอยู่เหนือรัตนบัลลังก์ 4 ชั้น ปูลาดด้วยผ้าทิพย์ ข้อพระกรข้างขวามีกำไรรัดตรึง ทรงจีวรแนบเนื้อ หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสนโดยช่างสมัยล้านนาและล้านช้าง หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะเบิกพระเนตร ขัดสมาธิราบ ศิลปะสมัยสุโขทัย องค์พระเป็นทองสำริดทั้งองค์ลงรักปิดทอง ตามประวัติสร้างสมัยล้านช้างและล้านนา หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปิดทอง เป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลายจนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อิริยาบถยืนปางอุ้มบาตร สูงประมาณ 170 เซนติเมตร พระหัตถ์ถอดออกประกอบ  พระบาทแบบพระพุทธรูปทรงเครื่อง สมัยล้านช้างและล้านนา


2) แนวคิดและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า  คนส่วนมากเชื่อว่าพระพุทธรูปมีความศักดิ์สิทธิ์สามารถช่วยให้คำขอพรสำเร็จได้ การได้กราบไหว้สักการะบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นสิริมงคลเท่านั้นยังไม่พัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ตามหลักพระพุทธศาสนา ผู้มีศรัทธาในพระพุทธรูปต้องบำเพ็ญบุญ พัฒนาตนเด้วยศีล สมาธิ และปัญญาจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายและความสุขแท้จริงได้


3) การกราบไหว้สักการะพระพุทธรูปสำคัญ ทำให้ได้เจริญพุทธานุสติ ธัมมานุสติ แล้วน้อมนำเอามาใช้ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มีสติปัญญาในการดำเนินชีวิต และแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน จนสามารถเจริญวิปัสสนาจนถึงความความหลุดพ้นได้ และมีคุณค่าทางจิตใจและเป็นรากฐานแห่งจารีตประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ข้อควรระวังในการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาพงศ์ศิริ ปญฺญาวชิโร. (2563). วิเคราะห์ทานบารมีในคัมภีร์อรรถกถาชาดก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 63-73.

รอบทิศ ไวยสุศรี. (2551). การศึกษาวิเคราะห์พระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดโสธรวราราม วรวิหาร. (2518). อนุสรณ์งานสมโภชหลวงพ่อโสธร พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร.

ส.พลายน้อย. (2545). พระพุทธรูปสำคัญในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สารคดี.

สงวน รอดบุญ. (2533). พุทธศิลป์สุโขทัย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สมเกียรติ โล่เพชรรัตน์. (2546). วิเคราะห์ประวัติการนับถือพุทธและศิลปะพระพุทธรูปในเอเชีย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2545). อัฟกานิสถานแหล่งผลิตพระพุทธรูปองค์แรกของโลก. กรุงเทพฯ: มติชน.

เสฐียรพงษ์ วรรรณปก. (2550). คำบรรยายพระไตรปิฎก. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

เสนอ นิลเดช. (2543). ประวัติสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสาวณิต วิงวอน และคณะ. (2550). ตำรางพระพุทธรูปปางต่างๆ ตามพระมติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.