เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา

Main Article Content

พระมหากันตินันท์ เฮงสกุล

บทคัดย่อ

การบริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่สำคัญในการวิเคราะห์ ประเมิน และตัดสินใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือ แม่นยำ สามารถนำมาเปรียบเทียบย้อนหลังได้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการบริหารการศึกษาจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผน ตัดสินใจในการบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบข่ายของการบริหารการศึกษามี 4 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหารการศึกษาครบทุกด้านและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น ผู้บริหารจะต้องมีความสนใจ และมีความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบการตัดสินใจ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศต้องทันต่อความต้องการ ทันต่อเหตุการณ์ เป็นมาตรฐาน ถูกต้องแม่นยำ มีการเก็บข้อมูล การประมวลผล และสามารถเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานได้ ในบทความนี้ผู้เขียนมุ่งเสนอถึงความสำคัญและการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษาตามขอบข่าย ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

จารึก ชิ้นสมบัติ. (2550). การศึกษาสภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร .

ชริสา พรหมรังสี. (2557). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3(การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ถวิล เกษสุพรรณ์. (2552). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ทรงวิทย์ ชูวงศ์. (2550). กระบวนการบริหารจัดการของสถานศึกษาในการส่งเสริมพฤติกรรมด้านความปลอดภัยแก่นักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเจดีย์(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

ทินกร พูลพุฒ. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก(ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). คุณธรรมสาหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

มัลลิกา ต้นสอน. (2544). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ยุทธศักดิ์ ไชยสีหา. (2555). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษาหลักการ ทฤษฎี หน้าที่ ประเด็นและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.

สมเดช สาวันดี. (2553). การนำเสนอรูปแบบการบริหารการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุขุม เฉลยทรัพย์และคณะ. (2551). เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.