ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา

Main Article Content

ไพผกา ผิวดำ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา  ผลการศึกษาพบว่า  ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เป็นเครื่องมือที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่มีกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ความรู้ นวัตกรรม และเทคนิควิธีการการจัดการเรียนการสอน ผ่านกระบวนการทำงานอย่างมืออาชีพ เกิดเป็นวัฒนธรรมหรือ ชุมชนของการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของครู โดย PLC มีองค์ประกอบสำคัญคือ เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือปัญหาเดียวกันมีการบูรณาการการทำงานเข้าด้วยกัน แบบร่วมมือร่วมใจ และมีสำนึกร่วมรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกัน จะต้องมีผู้นำวงซึ่งอาจจะเป็นผู้บริหารหรือครูที่มีประสบการณ์  เป็นผู้ใช้คำถามนำให้ผู้ร่วมวงทุกคนมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการพูดคุยนั้น พูดถึงผู้เรียนเป็นหลัก มีการสร้างบรรยากาศ เสริมพลังบวกให้กับครูไม่รู้สึกโดดเดี่ยว มีกัลยาณมิตรในวิชาชีพ ปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรมของการทำงาน ครูผู้สอนเกิดการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัมพล เจริญรักษ์. (2559). กลยุทธ์การนำกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ไปใช้ในโรงเรียน. วารสารวิชาการ, 19(2), 4-6.

จุรีรัตน์ เสนาะกรรณ. (2562). กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), 12-23.

นวรัตน์ ไวชมพู และ สุจิตรา จรจิตร. (2560). การเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของอาจารย์พยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 265 – 279.

บุญชอบ จันทาพูน สุวดี อุปปินใจ สมเกียรติ ตุ่นแก้ว และไพรภ รัตนชูวงศ์. (2561). กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเทศบาล 1 ต้นยาง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 17-27.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนแห่งการ

เรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สนอง โลหิตวิเศษ. (2563). ชุมชนแห่งการเรียนรู้. แหล่งที่มา: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/

ENEDU/article/view/7820 [20 ตุลาคม 2563].

สมาพร มณีอ่อน. (2560). กลยุทธ์การนำกระบวนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ไปใช้ในโรงเรียน. วารสาร

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(1), 30-31.

สมัย สลักศิลป์, วรปภา อารีราษฎร์ และ ธรัช อารีราษฎร์. (2562). การสังเคราะห์องค์ประกอบของคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1),127-136

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

DuFour R. (2007) Professional Learning Communities: A Bandwagon, an Idea Worth Considering,

or Our Best Hope for High Levels of Learning?.

Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Retrieved March 20, 2017, from http://www.sedl.org/siss/plccredit.html.

Mayer, D. & Lloyd, M. (2011). Professional Learning: An Introduction to the Research Literature. Australia: AITSA

Sergiovanni, T. J. (1994). Building Communities in Schools. San Francisco: Jossey-Bass.

Thompson, S.C., Gregg, L., & Niska, J.M. (2004).Professional learning communities, leadership, and student learning. Research in Middle Level Education Online, 28(1), 1-15.