การใช้บารมี 10 ในการพัฒนาตนเองและสังคม

Main Article Content

ชวัลวิทย์ อรุณปราการ
นวลวรรณ พูลวสุพลฉัตร
สรวิชญ์ วงษ์สอาด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบารมี 10 ที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาตนเองและสังคม 3) เพื่อศึกษาการใช้บารมี 10 ในการพัฒนาตนเองและสังคมการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาแล้วนำมาเรียบเรียงและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า บารมี หมายถึง คุณความดีที่ควรบำเพ็ญ เพื่อสร้างอุปนิสัยส่งเสริมให้สามารถบรรลุธรรมได้ มี 10 ประการ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา เรียกอีกอย่างว่า ทศบารมี มี 3 ระดับ ตามความยากของการบำเพ็ญ คือ บารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี ประโยชน์ของบารมี มี 3 อย่าง คือ เพื่อการตรัสรูเป็นพระพุทธเจ้า การตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า และการบรรลุธรรมเป็นพระอริยสาวก การพัฒนาตนเองและสังคม สามารถจัดเข้าในหลักภาวนา 4 แปลว่า การเจริญ การทำให้เป็นให้มีขึ้น การฝึกอบรม การพัฒนา ได้แก่ การฝึกฝนตนเอง (กาย) การอบรมความประพฤติ (ศีล) ทำให้เกิดความเชื่อมั่น ตั้งใจ (จิต) และได้สั่งสมประสบการณ์แยกแยะสิ่งที่เป็นคุณและโทษ(ปัญญา) หลักธรรมของการบำเพ็ญบารมี เป็นการฝึกฝนพื้นฐานของบารมีที่ต้องเริ่มจากตนเอง เข้าใจตนเอง เข้าใจธรรม จึงจะสามารถกำหนดให้เกิดเป็นลักษณะของบารมีได้ เป็นการส่งเสริมช่วยเหลือไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ทำให้ได้รับรส คือ ความตั้งมั่นของคุณธรรมบารมีนั้น และสามารถมองเห็นคุณธรรมที่ปรากฏ เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เข้าใจและเข้าถึงบารมีได้โดยง่าย ดังนั้นการใช้บารมี 10 มาพัฒนาตามหลักภาวนา 4 คือ การพัฒนากายโดยใช้พื้นฐาน พัฒนาศีลโดยใช้ลักษณะ พัฒนาจิตโดยใช้รส และพัฒนาปัญญาโดยใช้สภาพที่ปรากฏของบารมีทั้ง 10 ประการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34).กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พระมหากิตติณัฏฐ์ สุกิตฺติเมธี. (2564). การวิเคราะห์แนวทางงดเว้นจากความเสื่อมในปราภวสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 84-95.

พระมหาพงศ์ศิริ ปญฺญาวชิโร. (2564). วิเคราะห์ทานบารมีในคัมภีร์อรรถกถาชาดก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 63-73.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสภา. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2524). ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท(วิทยานิพนธ์อักษร ศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Chomdee, P. P. (2021). Kalyanamitta of Social Study Teachers: in Subject of Buddhism at Schools of Muang District, Nakhon Pathom Province. International Journal of Multidisciplinary in Cultures & Religions Studies, 2(1), 13-20. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ijmcr/article/view/255555

Hangsakul, P. G. (2021). Information Technology for Educational Administration. Journal of Educational Management and Research Innovation, 3(1), 1-10. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250590

Siriwattano, P. S. (2021). A Society of Happiness: Following the Principle of Sadharanabhogidham. International Journal of Multidisciplinary in Cultures & Religions Studies, 2(1), 1-6. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ijmcr/article/view/ 249870

Sri-aram, P. (2021). The Important Buddha Images: Concepts, Values and Influences in Thai Society. Journal of Educational Management and Research Innovation, 3(1), 51-60. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250817

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1-20.