พระธรรมกถึกกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย

Main Article Content

พระปลัดคมศักดิ์ รุ่งศิริ
พระปลัดสมชาย ดำเนิน

บทคัดย่อ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของชาวพุทธศาสนิกชนที่จะดำรงพระพุทธศาสนาให้มีความยั่งยืน การเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นมีแนวทางที่หลากหลายและมีผู้ปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกันไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเช่น พระธรรมกถึก พระวินัยธร ซึ่งมีข้อขัดแย้งกันในอดีตตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่อย่างไรก็ตาม พระธรรมกถึกก็ยังมีบทบาทสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาและสืบทอดให้มีความมั่นคงยั่งยืนมากยิ่งขึ้นบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระธรรมกถึกกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย ซึ่งพระธรรมกถึก หมายถึง ผู้กล่าวสอนธรรม ผู้แสดงธรรม นักเทศน์ จะต้องประกอบด้วยองค์ 5 ประการคือ (1) แสดงธรรมไปโดยลำดับไม่ตัดลัดให้ขาดความ (2) อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ (3) ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง (4) ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ (5) ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น ลีลาการสอนหรือการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทุกครั้งจะทรงใช้พุทธวิธีการสอนซึ่งมีรูปแบบและวิธีการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ทรงเตรียมแผนการสอน พร้อมทั้งศึกษาสภาพแวดล้อม วิเคราะห์ผู้ฟัง มีข้อมูลไว้อย่างพร้อมมูลตั้งแต่ต้นจนจบทรงใช้รูปแบบการสอนครบทั้ง 4 ประการได้แก่ 1) สันทัสสนา คือ การอธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง 2) สมาทปนา คือ การชักจูงใจให้เห็นจริง 3) สมุตเตชนา คือ การเร้าใจให้แกล้วกล้าบังเกิดกำลังใจ 4) สัมปหังสนา คือ การชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง ส่วนพระธรรมกถึกกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยตัวอย่างเช่น พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) เป็นพระผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยโดยใช้หลักพระธรรมกถึก ท่านได้อธิบายความตามหลักของพระธรรมกถึกต่อความหมายของความดีว่า เราควรจะไหว้พระแล้วเอาความดีของพระใส่ใจไปด้วย ความดีคืออะไร คือความไม่ประมาท ท่านได้อธิบายความตามหลักของพระธรรมกถึกต่อผลของความดีว่า บุคคลที่กระทำความดีโดยหวังเอาความดีแท้ๆ นั่นไม่มีปัญหาอะไร เขาจักต้องได้ความดีตอบแทนเสมอ คนเช่นนี้แหละเป็นคนนำความสงบสุขมาสู่โลกเป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและผู้ที่สนใจสืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

แก้ว ชิดตะขบ. (2553). ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

พระชลญาณมุนี (สมโภช ธมฺมโภชฺโช). (2560). พระสงฆ์ต้นแบบในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก. วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 127-140.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาถนัด อตฺถจารี และพระปลัดอำพล สุธีโร. (2543). พระธรรมฑูตสายต่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมปอง มุทิโต. (2547). บาลีไวยากรณ์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาใหม่. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2542). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2545). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: ธรรมดา.

ศรีศักดิ์ จามรมาน. (2551). อินเทอร์เน็ตนักล่าอาณานิคมโลก. กรุงเทพฯ: ฐานบุคส์.

สมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

Chomdee, P. P. (2021). Kalyanamitta of Social Study Teachers: in Subject of Buddhism at Schools of Muang District, Nakhon Pathom Province. International Journal of Multidisciplinary in Cultures & Religions Studies, 2(1), 13-20. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ijmcr/article/view/255555

Hangsakul, P. G. (2021). Information Technology for Educational Administration. Journal of Educational Management and Research Innovation, 3(1), 1-10. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250590

Pewdum, P. (2021). Professional Learning Community to the Success of the Organization. Journal of Educational Management and Research Innovation, 3(1), 11-18. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250580

Siriwattano, P. S. (2021). A Society of Happiness: Following the Principle of Sadharanabhogidham. International Journal of Multidisciplinary in Cultures & Religions Studies, 2(1), 1-6. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ijmcr/article/view/ 249870

Sri-aram, P. (2021). The Important Buddha Images: Concepts, Values and Influences in Thai Society. Journal of Educational Management and Research Innovation, 3(1), 51-60. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/250817

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1-20.